กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13829
ชื่อเรื่อง: | Using the concept of populism A case study of the General Prayut Chan-ocha government's Half/half Co-payment scheme with specific to Ban Nong Ped,Tha Yai Subdistrict,Chaiyaphum Province การใช้แนวคิดประชานิยม กรณีศึกษานโยบายคนละครึ่งของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชากรณีศึกษาบ้านหนองเป็ด ต.ท่าใหญ่ จ.ชัยภูมิ |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | PHRAOPHIRAT SOMPHET พราวภิราษ สมเพชร Pisan Mukdaratsami พิศาล มุกดารัศมี Sukhothai Thammathirat Open University Pisan Mukdaratsami พิศาล มุกดารัศมี [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | แนวคิดประชานิยม นโยบายคนละครึ่ง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา Populist concept Half-Half Policy General Prayut Chan-ocha |
วันที่เผยแพร่: | 22 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | This study uses the concept of populism. to analyse a case study of the policy of the government's Half-half Co- payment scheme of General Prayut Chan-o-cha, with the objectives 1) study the development guidelines for the implementation of the policy of the government's Half-half Co- payment scheme of General Prayut Chan-o-cha and 2) to study the results of the implementation of the government's Half-half Co- payment scheme, context, and input factors. under the concept of populismThe study applied qualitative research methods with a specific case study of Ban Nong Ped, Tha Yai Subdistrict, Nong Bua Daeng District, Chaiyaphum Province, In-depth interviews were used with key informants, namely stakeholders of the government's Half-half Co- payment scheme . The sample group used in the research totaled 15 people, divided into 3 groups: 1. Store operators consists of 5 people. 2. The general public consists of 5 people. And 3. Elderly people or people without smartphones consists of 5 people. In the data analysis section, the main points from all interview transcripts were considered. The data were categorized using coding methods. The questions and answers were reviewed and understood to ensure they aligned. The results were then summarized and presented in a descriptive and analytical manner, covering all the objectives.The results of the research revealed that (1.) The government's Half-half Co- payment scheme should be developed and driven to be consistent throughout the system. The half-half co-payment scheme is a good scheme, truly help low-income people. Therefore, the government should continue to create similar scheme. Otherwise, the government should adjust this scheme for the people who does not have smartphone to access the scheme as well. Including planning systematic registration and increase efficiency of the application to be stable and more convenient to use. In the part of the stores which participate in the scheme, should be honest with customers by without taking a chance from this scheme to increase product price or reduce product quantity. (2.) the implementation of the half-half co-payment scheme results that can solve people’s problem and stimulate the country’s economy. In terms of input factors, it is a scheme that is appropriate to the current problem situation, but in other words there is still lack of publicity and amount of money for spending is too small. In terms of process evaluation, this scheme is suitable for the people who understand technology but determination of access right is not as appropriate as it should be, the people who have a lack income and does not have a smartphone are disqualified to access the scheme. In terms of the results, it is a modern scheme to help people to reduce costs and increase the income for small entrepreneurs. but it is still lack of stable of system anyway. the people who are elderly and does not have smartphone are disqualified to access the scheme. The results of study of the half-half co-payment scheme under the leadership of General Prayut Chan-o-cha, revealed that it is the scheme that can simulate the slowing economy to recover in the short term, create employment that will affect economic expansion. The caveat is the restriction of access right such as improper access rights may create unfairness for income distribution. งานวิจัยฉบับนี้เป็นการนำแนวคิดประชานิยม กรณีศึกษานโยบายคนละครึ่งของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานตามนโยบายโครงการคนละครึ่งของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา 2) ศึกษาผลการดำเนินโครงการคนละครึ่ง ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ภายใต้แนวคิดประชานิยม ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการศึกษากรณีเฉพาะ กรณีศึกษาใน บ้านหนองเป็ด ต.ท่าใหญ่ อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของนโยบายคนละครึ่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยมีทั้งหมด 15 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.ผู้ประกอบการร้านค้า 5 คน 2. ประชาชนทั่วไป 5 คน 3.ผู้สูงอายุหรือบุคคลที่ไม่มีสมาร์ทโฟน 5 คน ในส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล จะพิจารณาประเด็นหลักข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ทั้งหมดจากการถอดเทป แล้วมาแบ่งแยกประเด็นต่างๆด้วยวิธีการทำรหัสข้อมูล (Code) และทำความเข้าใจหรือทบทวนคำถามกับคำตอบให้สอดคล้องกันและสรุปผลในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ให้ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ ผลการวิจัยพบว่า (1.) ศึกษาแนวทางในการพัฒนานโยบายคนละครึ่ง ควรพัฒนาการขับเคลื่อนนโยบายให้สอดคล้องกันทั้งระบบ โครงการคนล่ะครึ่งเป็นโครงการที่ดี สามารถช่วยเหลือประชาชนระดับรากหญ้าได้อย่างแท้จริง ดังนั้นภาครัฐควรจะดำเนินโครงการลักษณะแบบนี้ขึ้นมาอีก เพื่อจะได้ช่วยเหลือประชาชนอย่างแท้จริง ภาครัฐอาจจะต้องปรับโครงการนี้ให้ครอบคลุมกลุ่มบุคคลที่ไม่มี สมาร์ทโฟน ได้เข้าถึงสิทธิ์นี้ได้ด้วย รวมทั้งวางแผนการลงทะเบียนให้เป็นระบบและเพิ่มประสิทธิภาพของแอพพลิเคชั่นเป๋าตัง ให้มีความเสถียรและใช้งานได้อย่างสะดวกมากขึ้น ในส่วนของร้านค้าต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า โดยไม่ถือเอาโครงการนี้มาขึ้นราคา หรือลดปริมาณสินค้า (2.) ศึกษาผลการดำเนินโครงการคนละครึ่ง การประเมินด้านบริบท เป็นโครงการที่สามารถแก้ไขปัญหาของประชาชนได้ และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า เป็นนโยบายที่มีความเหมาะสมกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน แต่ยังขาดการประชาสัมพันธ์ และจำนวนเงินในการใช้จ่ายน้อยเกินไป การประเมินด้านกระบวนการ โครงการเหมาะสมกับประชาชนที่มีความพร้อมและเข้าใจเทคโนโลยี แต่การกำหนดสิทธิ์ผู้เข้าร่วมโครงการยังไม่เหมาะเท่าที่ควร ประชาชนที่ยากจนและขาดแคลนไม่มีสมาร์ทโฟนหมดสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ การประเมินด้านผลลัพธ์ นโยบายมีความทันสมัยช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย และสร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการขนาดเล็ก แต่ยังขาดความเสถียรของระบบ ผู้สูงอายุและคนที่ไม่มีสมาร์โฟนถือถูกจำกัดการเข้าร่วมโครงการ ซึ่งจากการศึกษาแนวคิดนโยบายประชานิยม ผ่านนโยบายคนละครึ่งของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่าเป็นนโยบายที่สามารถช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงให้กลับฟื้นคืนมามีการขยายตัวในระยะสั้น ก่อให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ อันส่งผลต่อการขยายตัวในทางเศรษฐกิจ ซึ่งข้อควรระวังในการใช้แนวคิดนโยบายประชานิยม คือด้านการเข้าถึงสิทธิ์ในวงที่จำกัด เช่น กำหนดการรับสิทธิ์ที่ไม่เหมาะสมอาจสร้างความไม่เป็นธรรมในการกระจายทรัพยากร |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13829 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2638000105.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น