Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13832
Title: การสื่อสารทางการเมืองผ่านผลงานศิลปะของ Headache Stencil
Other Titles: Political communication behind headache Stencil's Artworks
Authors: ยุทธพร อิสรชัย
พรรษา ทับทิมศรี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
Stencil's Artworks
การสื่อสารทางการเมือง
การเมืองในศิลปกรรม
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบท และเนื้อหาสาระผลงานศิลปะของ Headache Stencil ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมือง 2) เพื่อศึกษาผลของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของ Headache Stencil ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมือง งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาวิเคราะห์ผลงานศิลปะของ Headache Stencil ที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทางการเมือง เป็นผลงานที่ผู้ศึกษาได้รวบรวมจากศิลปินที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับศิลปิน โดยใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงสัมภาษณ์ผู้ที่รับชมผลงานที่ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานจำนวน 10 คน สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านศิลปะกับการเมือง 3 คน สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารทางการเมือง 1 คน และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านสัญวิทยา 1 คน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลงานศิลปะของ Headache Stencil สร้างสรรค์ขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2557 - 2564 เป็นผลงานศิลปะที่สื่อสารสถานการณ์ทางการเมืองเพื่อแสดงถึงเหตุการณ์ทางการเมืองสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่การรัฐประหาร ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดยการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะแสดงออกมาถึงการแสดงความคิดเห็นของประชาชนที่ถูกจำกัด และมีเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารงานของรัฐบาล การลงประชามติเพื่อนำมาซึ่งรัฐธรรมนูญ และเลือกตั้งในปี 2562 การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน 2) ผลของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ พบว่าผลงานศิลปะช่วยบันทึกเรื่องราว เหตุการณ์ต่าง ๆ ทางการเมืองที่เกิดขึ้น ช่วยให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวในสังคมได้เพียงเล็กน้อยและอยู่ในวงจำกัด ไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในสังคมได้ รวมถึงในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีลักษณะในการเสียดสี ล้อเลียน ส่งผลกระทบทางด้านลบโดยตรงต่อศิลปิน และในยุคของโลกาภิวัตน์ปัจจุบันส่งผลให้การสื่อสารของผลงานศิลปะของศิลปินได้มีการเปลี่ยนช่องทางการสื่อสารจากกำแพง ถนน พื้นที่สาธารณะ เปลี่ยนเป็นการใช้วิธีเผยแพร่อยู่ในสื่อสังคมออนไลน์ ผู้คนสามารถรับชมผลงานศิลปะได้มากขึ้นโดยไม่มีข้อจำกัดของถานที่และเวลา ผู้รับชมผลงานศิลปะในฐานะผู้รับสารสามารถเปลี่ยนเป็นผู้ส่งสารได้ทันทีจากการแสดงความคิดเห็นในผลงานศิลปะจากสื่อออนไลน์นั้น แต่พลังของศิลปะ ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก็ยังไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13832
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2638000378.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.