กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13832
ชื่อเรื่อง: | Political Communication behind Headache Stencil's Artworks การสื่อสารทางการเมืองผ่านผลงานศิลปะของ Headache Stencil |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | PANSA TABTIMSRI พรรษา ทับทิมศรี yuttaporn lssarachai ยุทธพร อิสรชัย Sukhothai Thammathirat Open University yuttaporn lssarachai ยุทธพร อิสรชัย [email protected] [email protected] |
คำสำคัญ: | การสื่อสารทางการเมือง ศิลปะทางการเมือง Headache Stencil Political Communication Political Art Headache Stencil |
วันที่เผยแพร่: | 8 |
สำนักพิมพ์: | Sukhothai Thammathirat Open University |
บทคัดย่อ: | The objectives of this study are 1) to study the context and contents through Artworks creation of Headache Stencil that relate to the political events and 2) to study the result of artistic creation by Headache Stencil concerning political events.This study employed qualitative research method. The data has been collected through the analysis of Headache Stencil's artworks in which their contents are related to political communication. The researcher also collected data by in-depth interviews. A purposive sampling method was used to interview 10 individuals who have viewed these artworks; 3 participants are experts who have ideas about both art and politics; 1 participant is the expert in political communication and 1 participant is the semiotics expert. Descriptive data analysis was used to analyze the data.The findings show that 1) Headache Stencil's artwork was created between 2014 and 2021. It is an artwork that communicates political situations to show important political events that have occurred since the coup on May 22, 2014. The creation of the artwork shows the restricted expression of public opinions as well as reflecting the government administration, the referendum that brings about the constitution, and the election in 2019, which showed the political expression of people. 2) The results of creating artworks found that artworks helped to record stories and various political events that occurred during that time. It helped people to be more politically awakened in a limited way which was unable to bring about any change. the artworks that contain satirical, parody contents, on the other hand, brings negative feedback on the artist. And in the present, globalization era, the communication of artist's artwork has changed from the street wall to the dissemination on social media. People can view art without the limit of space and time. Viewers can instantly transform into a messenger by commenting on artworks from that online channel. But the power of art is unable to be utilized as a driver of political change at the present. งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบท และเนื้อหาสาระผลงานศิลปะของ Headache Stencil ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมือง 2) เพื่อศึกษาผลของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของ Headache Stencil ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมือง งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาวิเคราะห์ผลงานศิลปะของ Headache Stencil ที่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทางการเมือง เป็นผลงานที่ผู้ศึกษาได้รวบรวมจากศิลปินที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับศิลปิน โดยใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงสัมภาษณ์ผู้ที่รับชมผลงานที่ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานจำนวน 10 คน สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านศิลปะกับการเมือง 3 คน สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารทางการเมือง 1 คน และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านสัญวิทยา 1 คน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลงานศิลปะของ Headache Stencil สร้างสรรค์ขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2557 - 2564 เป็นผลงานศิลปะที่สื่อสารสถานการณ์ทางการเมืองเพื่อแสดงถึงเหตุการณ์ทางการเมืองสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่การรัฐประหาร ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดยการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะแสดงออกมาถึงการแสดงความคิดเห็นของประชาชนที่ถูกจำกัด และมีเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารงานของรัฐบาล การลงประชามติเพื่อนำมาซึ่งรัฐธรรมนูญ และเลือกตั้งในปี 2562 การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน 2) ผลของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ พบว่าผลงานศิลปะช่วยบันทึกเรื่องราว เหตุการณ์ต่าง ๆ ทางการเมืองที่เกิดขึ้น ช่วยให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวในสังคมได้เพียงเล็กน้อยและอยู่ในวงจำกัด ไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในสังคมได้ รวมถึงในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีลักษณะในการเสียดสี ล้อเลียน ส่งผลกระทบทางด้านลบโดยตรงต่อศิลปิน และในยุคของโลกาภิวัตน์ปัจจุบันส่งผลให้การสื่อสารของผลงานศิลปะของศิลปินได้มีการเปลี่ยนช่องทางการสื่อสารจากกำแพง ถนน พื้นที่สาธารณะ เปลี่ยนเป็นการใช้วิธีเผยแพร่อยู่ในสื่อสังคมออนไลน์ ผู้คนสามารถรับชมผลงานศิลปะได้มากขึ้นโดยไม่มีข้อจำกัดของถานที่และเวลา ผู้รับชมผลงานศิลปะในฐานะผู้รับสารสามารถเปลี่ยนเป็นผู้ส่งสารได้ทันทีจากการแสดงความคิดเห็นในผลงานศิลปะจากสื่อออนไลน์นั้น แต่พลังของศิลปะ ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก็ยังไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมได้ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13832 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2638000378.pdf | 2.55 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น