Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13833
Title: | การสื่อสารทางการเมืองผ่านงานประติมากรรม : กรณีศึกษา ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี |
Other Titles: | Political communication via sculpture : the case of Professor Silpa Bhirasri |
Authors: | ยุทธพร อิสรชัย จิตรานุช จันทรุทิน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี ศิลป์ พีระศรี, 2435-2505 การเมืองในศิลปกรรม การสื่อสารทางการเมือง การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บริบททางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี (2) อิทธิพลของแนวคิดศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ในการสื่อสารทางการเมืองและการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ในสังคมการเมืองไทยผ่านงานประติมากรรม ตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 6 จนถึง พ.ศ. 2500 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ศึกษาจากผลงานประติมากรรมต้นแบบของศิลปิน และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 8 คน โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า (1) การสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี จะมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างทางสังคมในช่วงเวลานั้น งานประติมากรรมเป็นเครื่องมือในการสื่อสารทางการเมืองของผู้ปกครอง ซึ่งเป็นผลมาจากบริบททางการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ณ ขณะนั้น กล่าวคือ งานประติมากรรมในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองจะเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์และระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระราชสำนักเป็นผู้อุปถัมภ์หลักด้านศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเหตุผลที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เข้ามารับราชการในสมัยรัชกาลที่ 6 แต่รูปแบบงานประติมากรรมในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจะมีความแตกต่างกัน เนื่องจากได้รับอิทธิพลมาจากการปกครองระบอบใหม่ กลุ่มผู้ปกครองมีแนวคิดแบบประชาธิปไตย บริบททางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมเน้นหลักความเสมอภาค งานประติมากรรมจึงถูกแสดงออกมาในรูปแบบเสมือนจริง เชิดชูสามัญชน สถาปัตยกรรมลดทอนรายละเอียดที่แสดงถึงการแบ่งชนชั้นวรรณะทางสังคม และความสำคัญของการมีรัฐธรรมนูญแห่งชาติไทย ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดหลักของรัฐบาลขณะนั้น (2) การสร้างสัญลักษณ์รูปปั้นหรือประติมากรรมอนุสาวรีย์ต่าง ๆ ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับอิทธิพลมาจาก 2 แนวคิด คือ 1) ประติมากรรมที่เกิดจากแนวคิดและรูปแบบทางศิลปะเฉพาะตัว 2) ประติมากรรมที่สร้างขึ้นจากแนวคิดของผู้นำหรือนโยบายของรัฐ ยุคสมัยจะเป็นตัวกำหนดลักษณะงาน ซึ่งงานประติมากรรมเหล่านี้มีนัยเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ทางการเมืองและเป็นเครื่องมือที่ช่วยเผยแพร่นโยบายของผู้มีอำนาจแห่งรัฐ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13833 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2638000436.pdf | 3.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.