กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13833
ชื่อเรื่อง: Political Communication Via Sculpture: The Case of Professor Silpa Bhirasri
การสื่อสารทางการเมืองผ่านงานประติมากรรม : กรณีศึกษา ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: JITTRANUTCH JUNTARUTIN
จิตรานุช จันทรุทิน
yuttaporn lssarachai
ยุทธพร อิสรชัย
Sukhothai Thammathirat Open University
yuttaporn lssarachai
ยุทธพร อิสรชัย
[email protected]
[email protected]
คำสำคัญ: ศิลป์ พีระศรี  การสื่อสารทางการเมือง การต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ ประติมากรรม สัญญะวิทยาทางการเมือง
Silpa Bhirasri
political communication
symbolic struggle
sculpture
political semiotics
วันที่เผยแพร่:  8
สำนักพิมพ์: Sukhothai Thammathirat Open University
บทคัดย่อ: This research aims to study (1) the political, social and cultural contexts before and after the change of government regime that influenced the sculpture creation of Professor Silpa Bhirasri, and (2) the influence of Professor Silpa Bhirasri's concepts in political communication and symbolic struggles in Thai political society through sculptures since the late King Rama VI reign until 1957.  This qualitative research gathered data from documents and prototype sculptures of the artist, as well as in-depth interviews of 8 selected key informants using purposive sampling and descriptive analysis.The study found that (1) Professor Silpa Bhirasri's sculpture creation was related to social structures of that period. Sculptures were tools for political communication of rulers because of political, social and cultural contexts at that time. That is, sculptures before the regime change were associated with the monarchy institution and absolute monarchy, with the royal court being the main sponsor of arts and culture. This was the reason Professor Silpa Bhirasri entered civil service during King Rama VI reign. However, the sculpture styles after the regime change were different due to influences of the new regime. The new ruling group had democratic ideals. Political, social and cultural contexts emphasized equality. Sculptures were therefore expressed in realistic forms, extolling commoners while architectural details indicating social hierarchy were reduced, aligning with the core concepts of the government at that time. (2) The creation of statues and monument sculptures by Professor Silpa Bhirasri was influenced by two concepts: 1) Sculptures derived from his unique artistic concepts and styles, and 2) Sculptures built on concepts of leaders or state policies. The period would dictate characteristics of the works. These sculptures symbolically expressed politics and were tools to propagate policies of state powers.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บริบททางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองและหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี  (2) อิทธิพลของแนวคิดศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ในการสื่อสารทางการเมืองและการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ในสังคมการเมืองไทยผ่านงานประติมากรรม ตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 6 จนถึง พ.ศ. 2500                    การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร ศึกษาจากผลงานประติมากรรมต้นแบบของศิลปิน และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 8 คน โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง  ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา                  ผลการศึกษาพบว่า (1) การสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี จะมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างทางสังคมในช่วงเวลานั้น  งานประติมากรรมเป็นเครื่องมือในการสื่อสารทางการเมืองของผู้ปกครอง ซึ่งเป็นผลมาจากบริบททางการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ณ ขณะนั้น กล่าวคือ งานประติมากรรมในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองจะเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์และระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระราชสำนักเป็นผู้อุปถัมภ์หลักด้านศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเหตุผลที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เข้ามารับราชการในสมัยรัชกาลที่ 6 แต่รูปแบบงานประติมากรรมในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจะมีความแตกต่างกัน เนื่องจากได้รับอิทธิพลมาจากการปกครองระบอบใหม่ กลุ่มผู้ปกครองมีแนวคิดแบบประชาธิปไตย บริบททางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมเน้นหลักความเสมอภาค  งานประติมากรรมจึงถูกแสดงออกมาในรูปแบบเสมือนจริง เชิดชูสามัญชน  สถาปัตยกรรมลดทอนรายละเอียดที่แสดงถึงการแบ่งชนชั้นวรรณะทางสังคม  และความสำคัญของการมีรัฐธรรมนูญแห่งชาติไทย  ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดหลักของรัฐบาลขณะนั้น  (2) การสร้างสัญลักษณ์รูปปั้นหรือประติมากรรมอนุสาวรีย์ต่าง ๆ ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับอิทธิพลมาจาก 2 แนวคิด คือ 1) ประติมากรรมที่เกิดจากแนวคิดและรูปแบบทางศิลปะเฉพาะตัว  2) ประติมากรรมที่สร้างขึ้นจากแนวคิดของผู้นำหรือนโยบายของรัฐ ยุคสมัยจะเป็นตัวกำหนดลักษณะงาน ซึ่งงานประติมากรรมเหล่านี้มีนัยเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ทางการเมืองและเป็นเครื่องมือที่ช่วยเผยแพร่นโยบายของผู้มีอำนาจแห่งรัฐ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13833
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2638000436.pdf3.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น