กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13834
ชื่อเรื่อง: การเข้าสู่ตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลปัวของนางยุภา ปัญญาวรรณรักษ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study on Mrs. Yupa Panyawanrak Acquiring a Position as Mayor of Pua Subdistrict Municipality
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรารัก เฉลิมพันธุศักดิ์
ปภังกร เทพอินทร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
ยุภา ปัญญาวรรณรักษ์
นายกเทศมนตรี
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระหัวข้อ การเข้าสู่ตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลปัวของ นาง ยุภา ปัญญาวรรณรักษ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเข้าสู่ตําแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลปัว ของนางยุภา  ปัญญาวรรณรักษ์ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตําแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลปัว ของนางยุภา ปัญญาวรรณรักษ์ การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ นักการเมืองท้องถิ่น กลุ่มผู้ให้การสนับสนุนและกลุ่มผู้นําชุมชนในเขตเทศบาลตำบลปัว แล้วจึงนำมาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่าวิธีการเข้าสู่ตำแหน่งนายกเทศมนตรีของนางยุภา ปัญญาวรรณรักษ์ ใช้วิธีดึงกลุ่มการเมืองท้องถิ่นแบบสหวิชาชีพ กลวิธีการหาเสียงเลือกตั้ง นอกเหนือจากการเคาะประตูบ้านเพื่อรับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาร่วมกันภายใต้ชื่อ “ทีมเพื่อปัว” กับคำขวัญการรณรงค์หาเสียงที่ว่า “อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีต้องร่วมมือกัน เพื่อความสุขของคนเมืองปัว”  รวมถึงการใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการเข้าสู่ตำแหน่ง สำหรับปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งนายกเทศมนตรีของนางยุภา ปัญญาวรรณรักษ์ ได้แก่ คุณสมบัติส่วนบุคคลของนางยุภา ที่แสดงออกถึงความมุ่งมั่นและการมีจิตอาสา รวมถึงหลักฐานเชิงประจักษ์จากการเป็นอดีตผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับการยอมรับในเรื่องของวุฒิการศึกษา และการทำงานเพื่อชุมชน รวมถึงผู้นำกลุ่มสตรี ท่ามกลางความรู้สึกเบื่อหน่ายของประชาชนที่มีต่อผู้บริหารเทศบาลตำบลปัวในอดีต แม้จะใช้งบประมาณจำกัดในการหาเสียงเลือกตั้ง แต่การมีหลักการบริหารงานที่ดีและการประสานงานที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มอิทธิพลในพื้นที่ทำให้สามารถจัดการทีมเพื่อปัวที่เข้มแข็ง ล้วนมีส่วนช่วยวางรากฐานมวลชนที่ดี ตลอดจนปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่ดี ทำให้มีผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งนายกเทศมนตรีตำบลปัว
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13834
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2638001020.pdf975.04 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น