Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13838
Title: | แนวคิดทางการเมืองในหนังสือการ์ตูนเรื่อง “เมไจ อาลาดินผจญภัย” (Magi: The Labyrinth of Magic) ของ โอทากะ ชิโนบุ |
Other Titles: | Political concept in the Manga “Magi: The Labyrinth of Magic” by Ohtaka Shinobu |
Authors: | พิศาล มุกดารัศมี พชรพล มาไว มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี การ์ตูนการเมือง การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง |
Issue Date: | 2566 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาที่มา รูปแบบและเนื้อหาแนวคิดทางการเมืองของตัวละครที่ปรากฏในหนังสือการ์ตูน เมไจ อาลาดินผจญภัย และ (2) เพื่อศึกษาที่มา รูปแบบ และเนื้อหาแนวคิดรูปแบบทางการเมืองการปกครองที่ปรากฏในหนังสือการ์ตูน เมไจ อาลาดินผจญภัย โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ รูปแบบการวิจัยเชิงเอกสาร ที่ใช้แนวคิดทางการเมือง แนวคิดรูปแบบทางการเมืองการปกครอง และแนวคิดการวิจารณ์วรรณกรรมเชิงจิตวิเคราะห์เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของตัวละครและบริบททางการเมืองในหนังสือการ์ตูน เมไจ อาลาดินผจญภัย ผลการศึกษาพบว่า (1) จากเรื่องปรากฎแนวคิดทางการเมืองผ่านตัวละครที่มีแนวคิดแตกต่างกันไป อันเกิดจากประสบการณ์และสภาพสังคมในช่วงชีวิตของแต่ละตัวละคร เกิดเป็นแนวคิดและพฤติกรรมทางการเมืองที่ต่างกัน โดยในเรื่องปรากฎแนวคิดทางการเมือง ได้แก่ แนวคิดเสรีนิยม สังคมนิยม เผด็จการ อนาธิปไตยและอนุรักษนิยม นำไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์แบบขัดแย้งและสนับสนุนของตัวละครที่มีแนวคิดต่างกัน โดยผู้ประพันธ์มีนัยยะสนับสนุนแนวคิดเสรีนิยม และสังคมนิยมผ่านตัวละครเกี่ยวกับความเป็นปัจเจก ความเท่าเทียม การเชื่อในเหตุผลของมนุษย์ ภราดรภาพ การปฏิเสธชนชั้นและระบบทุนนิยม (2) จากเรื่องปรากฎรูปแบบทางการเมืองการปกครองผ่านประเทศต่าง ๆ ได้แก่รูปแบบราชาธิปไตย ทรราชธิปไตย อภิชนาธิปไตย และประชาธิปไตย โดยผู้ศึกษาได้วิเคราะห์รูปแบบทางการเมืองการปกครองผ่านแนวคิดทฤษฎีของอริสโตเติลที่พิจารณาจากจำนวนผู้ปกครองและเป้าหมายการปกครอง ซึ่งผู้ประพันธ์มีนัยยะไม่สนับสนุนการปกครองโดยคนคนเดียวที่นำไปสู่การเป็นราชาทรราช และมองรูปแบบทางการเมืองการปกครองเป็นพลวัตที่เปลี่ยนไปตามแนวคิดทางการเมืองของผู้ปกครอง และกระแสสังคมโลก |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13838 |
Appears in Collections: | Pol-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
2648000384.pdf | 3.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.