Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13841
Title: ความขัดแย้งระหว่างเทศบาลตำบลป่าคลอกกับกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง กรณีการขุดลอกร่องน้ำสาธารณประโยชน์ในตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต (พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2565)
Other Titles: Conflicts between the Pa Khlok Subdistrict Municipality and the Ban Ao Kung Mangrove Forest Conservation Group: A Case of Public Channel Dredging in water channels at Pa- Pa Khlok Subdistrict, Thalang District, Phuket Province (2019 to 2022)
Authors: ธโสธร ตู้ทองคำ
อดูลย์ ระลึกมูล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความขัดแย้งทางการเมือง--ไทย--ภูเก็ต
เทศบาลตำบลป่าคลอก
กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง
การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพปัญหาความขัดแย้งระหว่างเทศบาลตำบลป่าคลอก กับกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง กรณีการขุดลอกร่องน้ำสาธารณประโยชน์ (พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2565) (2) สาเหตุที่นำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างเทศบาลตำบลป่าคลอกกับกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง กรณีการขุดลอกร่องน้ำสาธารณประโยชน์ (พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2565) (3) ประเด็นปัญหาความขัดแย้งระหว่างเทศบาลตำบลป่าคลอกกับกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง กรณีการขุดลอกร่องน้ำสาธารณประโยชน์ (พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2565) (4) ผลกระทบและแนวทางการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างเทศบาลตำบลป่าคลอกกับกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง กรณีการขุดลอกร่องน้ำสาธารณประโยชน์ (พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2565) งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) นักการเมืองท้องถิ่น (2) เจ้าหน้าที่ของรัฐ (3) กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้ง (4) นักธุรกิจ (5) นักวิชาการและสื่อมวลชนท้องถิ่น และ (6) ประชาชนในพื้นที่ รวมเป็นจำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบเก็บเอกสารและแบบสัมภาษณ์ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัญหาความขัดแย้งเกิดจากประชาชนบ้านอ่าวกุ้งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงชายฝั่งและประมงน้ำลึก แต่การทำประมงมีข้อจำกัดในการนำเรือเข้าจอดเทียบท่าโดยต้องรอช่วงน้ำขึ้นเท่านั้น จึงมีการรวมตัวเสนอโครงการขุดลอกเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว หลังจากที่เทศบาลตำบลป่าคลอกรับทราบปัญหาและความต้องการแล้วได้นำไปบรรจุในแผนพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งในเวลาต่อมากลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนฯ ได้มีการรวมตัวคัดค้านและเคลื่อนไหวยับยั้งไม่ให้มีการขุดลอกร่องน้ำฯ  (2) สาเหตุที่นำไปสู่ปัญหาความขัดแย้ง พบว่า การบริหารงานราชการของภาครัฐที่มีการพิจารณาและการรับฟังความเห็นไม่ครอบคลุมทุกกลุ่ม รวมถึงความคาดหวังผลประโยชน์จากการพัฒนาในพื้นที่ วิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติรวมถึงระบบนิเวศที่อาจถูกทำลายเป็นสาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น (3) ประเด็นปัญหาความขัดแย้ง พบว่า การนำนโยบายการขุดลอกร่องน้ำฯ เข้าในแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลฯ เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศในพื้นที่ ซึ่งกลุ่มอนุรักษ์ฯ ต้องการให้มีการรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิม การประกอบอาชีพที่แตกต่างกันล้วนเป็นประเด็นหลักของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น (4) ผลกระทบและแนวทางการแก้ไขความขัดแย้ง พบว่า หากไม่มีการขุดลอกร่องน้ำฯ ก็จะไม่ส่งผลกระทบด้านใดกับชุมชน แต่หากให้มีการขุดลอกร่องน้ำฯ จนแล้วเสร็จ รัฐจะเก็บภาษีได้มากขึ้นจากการพัฒนาพื้นที่และโครงการมารีน่าที่จะเกิดขึ้น ชาวบ้านจะนำเรือเทียบท่าเรือได้ตลอด เวลา แต่สำหรับกลุ่มอนุรักษ์ฯ มองว่าวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมในด้านการทำประมงชายฝั่งรวมถึงระบบนิเวศจะถูกทำลาย  และแนวทางการแก้ไข พบว่า กลุ่มอนุรักษ์ฯ ได้อาศัยกระบวนการยุติธรรมเพื่อไม่ให้มีการขุดลอกฯ และเพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ สันติวิธีหรือการประนีประนอมเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายคาดหวังว่าจะสามารถยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างเทศบาลตำบลป่าคลอกกับกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนบ้านอ่าวกุ้งได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13841
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2648000483.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.