กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13843
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาเปรียบเทียบการเมืองของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) กับความพยายามของหน่วยงานในการกำหนดผลการประเมิน ระหว่างหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Comparative study of politics in ITA and the effort of organizations to determine the ITA results between the Provincial Government Organizations and the Local Government Organizations in Ubon Ratchathani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ขจรศักดิ์ สิทธิ ณาศิส กฤตนิวัตน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณี การเมืองเปรียบเทียบ ความโปร่งใส (จริยศาสตร์) ในภาครัฐ--ไทย--อุบลราชธานี การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครอง |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาที่มาและสาระสำคัญของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA: Integrity and Transparency Assessment) 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเมืองกับความพยายามในการกำหนดผลการประเมิน ITA ระหว่าง หน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี และ 3) เพื่อหาข้อสรุปและจัดทำข้อเสนอแนะแก่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ในการพิจารณาปรับปรุงเกณฑ์การประเมิน ITA ให้มีความเหมาะสมและสะท้อนความเป็นจริง การศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ทำการคัดเลือกด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 5 แห่ง กลุ่มที่ 2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี ทำการคัดเลือกด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 5 แห่ง และกลุ่มที่ 3 ผู้แทนของสำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส สำนักงาน ป.ป.ช. ผลการศึกษาพบว่า 1) ระบอบอำนาจนิยมและระบบอุปถัมภ์เป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถกระตุ้นให้เกิดความพยายามในการกำหนดผลการประเมิน ITA ของหน่วยงานภาครัฐในจังหวัดอุบลราชธานี 2) จำนวนเรื่องกล่าวหาร้องเรียนของหน่วยงานในจังหวัดอุบลราชธานี ไม่ได้สัมพันธ์โดยตรงต่อผลการประเมิน ITA ของหน่วยงาน และ 3) บทบาทของสำนักงาน ป.ป.ช. มีอิทธิพลต่อความกระตือรือร้นของหน่วยงานในการประเมิน ITA ทั้งในหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานี ข้อเสนอแนะจากการวิจัย สำนักงาน ป.ป.ช. ควรพิจารณาปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขเกณฑ์การประเมินที่ใช้ประเมินหน่วยงานแต่ละประเภทเป็นการแบ่งตามประเภทย่อยของหน่วยงาน เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมให้กับหน่วยงานแต่ละประเภทมากขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13843 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2648001002.pdf | 6.62 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น