Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13857
Title: Factors Predicting the Behaviors of Evidence-based Nursing Practice for Normal Labour Care of Intrapartum Nurses in Hospitals, Health Region 3
ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลการคลอดปกติของพยาบาลห้องคลอด โรงพยาบาลในสังกัดเขตสุขภาพที่ 3
Authors: Wilasinee Bootsri
วิลาสินี บุตรศรี
Premruetai Noimuenwai
เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย
Sukhothai Thammathirat Open University
Premruetai Noimuenwai
เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย
[email protected]
[email protected]
Keywords: พฤติกรรมการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ การดูแลคลอดปกติ พยาบาลห้องคลอด
Behaviors of evidence-based nursing practice
Normal labor care
Intrapartum nurses
Issue Date:  23
Publisher: Sukhothai Thammathirat Open University
Abstract: The purposes of this study were to: 1) study  attitudes towards normal labor care, subjective norms towards normal labor care, perceived normal labor care self-efficacy, knowledge of evidence-based practice, and behaviors of evidence-based nursing practice for normal labor care of intrapartum nurses in hospitals in Health Region 3; and 2) study factors predicting behaviors of evidence-based nursing practice for normal labor care which included attitudes towards normal labor care, subjective norms towards normal labor care, perceived normal labor care self-efficacy, and knowledge of evidence-based practice of intrapartum nurses.The participants of this descriptive study were 155 registered nurses working in delivery rooms of hospitals in Health Region 3. They were selected by stratified random sampling. Questionnaires were used as a research tool and comprised six sections: (1) personal characteristics, (2) attitudes towards normal labor care, (3) subjective norms towards normal labor care, (4) perceived normal labor care self-efficacy, (5) knowledge of evidence-based practice, and (6) behaviors of evidence-based nursing practice for normal labor care. The reliabilities of the second through the sixth sections were 0.87, 0.82, 0.95, 0.84, and 0.96, respectively. Data were analyzed by descriptive statistics and stepwise multiple regression.The findings revealed as follows: (1) registered nurses rated their attitudes towards normal labor care, subjective norms towards normal labor care, and perceived normal labor care self-efficacy at the high level. However, their knowledge of evidence-based practice and behaviors of evidence-based nursing practice for normal labor care were at a moderate level. (2) Subjective norms towards normal labor care could predict behaviors of evidence-based nursing practice for normal labor care and accounted for 11 percent of variance of behaviors of evidence-based nursing practice for normal labor care (R2 = .11, p
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ทัศนคติต่อการดูแลการคลอดปกติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการดูแลการคลอดปกติ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมการดูแลการคลอดปกติ ความรู้เกี่ยวกับการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และพฤติกรรมการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลการคลอดปกติ ของพยาบาลห้องคลอดโรงพยาบาลในสังกัดเขตสุขภาพที่ 3 (2) ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลการคลอดปกติ ได้แก่ ทัศนคติต่อการดูแลการคลอดปกติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการดูแลการคลอดปกติ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมการดูแลการคลอดปกติ และความรู้เกี่ยวกับการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของพยาบาลห้องคลอดการวิจัยเชิงพรรณนามีกลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานห้องคลอด ในเขตสุขภาพที่ 3 จำนวน 155 คน ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูลส่วนบุคคล (2) ทัศนคติต่อการดูแลการคลอดปกติ (3) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการดูแลการคลอดปกติ  (4) การรับรู้ความสามารถในการควบคุมการดูแล การคลอดปกติ (5) ความรู้เกี่ยวกับใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และ (6) พฤติกรรมการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลการคลอดปกติ ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามส่วนที่ 2-6 เท่ากับ 0.87, 0.82, 0.95, 0.84 และ 0.96 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหูคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) ทัศนคติต่อการดูแลการคลอดปกติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการดูแลการคลอดปกติ และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมการดูแลการคลอดปกติอยู่ในระดับสูง ส่วนความรู้เกี่ยวกับการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และพฤติกรรมการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลการคลอดปกติ อยู่ในระดับปานกลาง (2) ตัวแปรการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการดูแลการคลอดปกติเป็นตัวแปรที่สามารถทำนายความแปรปรวนของพฤติกรรมการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลการคลอดปกติได้ร้อยละ 11 (R2 = .11) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13857
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2595100377.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.