กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13857
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลการคลอดปกติของพยาบาลห้องคลอด โรงพยาบาลในสังกัดเขตสุขภาพที่ 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors Predicting the Behaviors of Evidence-based Nursing Practice for Normal Labour Care of Intrapartum Nurses in Hospitals, Health Region 3
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย
วิลาสินี บุตรศรี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
จันทิมา นวะมะวัฒน์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.แขนงวิชาการบริหารทางการพยาบาล--วิทยานิพนธ์
การดูแลหลังคลอด
พยาบาลผดุงครรภ์
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ทัศนคติต่อการดูแลการคลอดปกติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการดูแลการคลอดปกติ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมการดูแลการคลอดปกติ ความรู้เกี่ยวกับการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และพฤติกรรมการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลการคลอดปกติ ของพยาบาลห้องคลอดโรงพยาบาลในสังกัดเขตสุขภาพที่ 3 (2) ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลการคลอดปกติ ได้แก่ ทัศนคติต่อการดูแลการคลอดปกติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการดูแลการคลอดปกติ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมการดูแลการคลอดปกติ และความรู้เกี่ยวกับการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของพยาบาลห้องคลอดการวิจัยเชิงพรรณนามีกลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานห้องคลอด ในเขตสุขภาพที่ 3 จำนวน 155 คน ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูลส่วนบุคคล (2) ทัศนคติต่อการดูแลการคลอดปกติ (3) การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการดูแลการคลอดปกติ  (4) การรับรู้ความสามารถในการควบคุมการดูแล การคลอดปกติ (5) ความรู้เกี่ยวกับใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และ (6) พฤติกรรมการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลการคลอดปกติ ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามส่วนที่ 2-6 เท่ากับ 0.87, 0.82, 0.95, 0.84 และ 0.96 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหูคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) ทัศนคติต่อการดูแลการคลอดปกติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการดูแลการคลอดปกติ และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมการดูแลการคลอดปกติอยู่ในระดับสูง ส่วนความรู้เกี่ยวกับการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และพฤติกรรมการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลการคลอดปกติ อยู่ในระดับปานกลาง (2) ตัวแปรการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการดูแลการคลอดปกติเป็นตัวแปรที่สามารถทำนายความแปรปรวนของพฤติกรรมการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลการคลอดปกติได้ร้อยละ 11 (R2 = .11) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารทางการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13857
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2595100377.pdf2.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น