Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13865
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริมth_TH
dc.contributor.authorณัฐชญา อัตราth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2025-01-29T08:15:03Z-
dc.date.available2025-01-29T08:15:03Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13865en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการตอซังและฟางข้าวทดแทนการเผาของเกษตรกร 3) การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการตอซังและฟางข้าวทดแทนการเผาของเกษตรกร 4) ปัญหาในการส่งเสริมการจัดการตอซังและฟางข้าวทดแทนการเผาของเกษตรกร และ 5) แนวทางการส่งเสริมการจัดการตอซังและฟางข้าวทดแทนการเผาของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในตำบลดอนหายโศก อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในตำบลดอนหายโศก อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่มีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวกับทางสำนักงานเกษตรอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ในปีการผลิต 2565/2566 จำนวน 944 ครัวเรือน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ค่าความคาดเคลื่อน 0.07 ได้จำนวน 168 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 67.9 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 55.07 ปี ร้อยละ 42.3 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีพื้นที่ทำนาของตนเองเฉลี่ย 7.35 ไร่ มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.61 ราย มีรายได้จากการผลิตข้าวเฉลี่ย 24,613.10 บาท/ปี มีรายได้จากภาคการเกษตรอื่น ๆ เฉลี่ย 22,960.94 บาท/ปี ค่าใช้จ่ายจากการผลิตข้าวเฉลี่ย 12,641.67 บาท/ปี ค่าใช้จ่ายจากภาคการเกษตรอื่น ๆ เฉลี่ย 9,782.81 บาท/ปี ร้อยละ 77.4 ไม่มีตำแหน่งทางสังคม ร้อยละ 79.8 เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธกส. 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการการจัดการตอซังและฟางข้าวทดแทนการเผาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความรู้น้อยที่สุดในประเด็นการทิ้งตอซังและฟางข้าวไว้นานอาจทำให้ปริมาณของฟางข้าวลดลงและธาตุอาหารสูญเสียไป 3) เกษตรกรมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการตอซังและฟางข้าวทดแทนการเผาในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีการปฏิบัติมากสุดในประเด็น การใช้ฟางข้าวคลุมดินรอบโคลนต้นไม้ เพื่อให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากฟางข้าวช่วยควบคุมความชื้น ป้องกันการระเหยความชื้นที่อยู่ในดินและเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ 4) เกษตรกรมีปัญหาในการจัดการตอซังและฟางข้าวทดแทนการเผาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหามากสุดในประเด็น แหล่งความรู้ในการจัดการตอซังและฟางข้าว และ 5) เกษตรกรมีความต้องการแนวทางการส่งเสริมการจัดการตอซังและฟางข้าวทดแทนการเผาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเกษตรกรมีความต้องการแนวทางการส่งเสริมการจัดการตอซังและฟางข้าวทดแทนการเผาด้านความรู้สูงที่สุด โดยต้องการมากสุดในประเด็น เจ้าหน้าที่ควรส่งเสริมให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของการไถกลบตอซังและฟางข้าวth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectฟางข้าว--ไทย--อุดรธานีen
dc.titleแนวทางการส่งเสริมการจัดการตอซังและฟางข้าวทดแทนการเผาของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในตำบลดอนหายโศก อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานีth_TH
dc.title.alternativeExtension guidelines for stubble and rice straw management substitute for burning of famers in Don Hai Sok Sub-district, Nong Han District, Udon Thani Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) basic personal, economic, and social conditions of farmers 2) knowledge about stubble and rice straw management in substitution of burning of farmers 3) practices regarding stubble and rice straw management in substitution of burning of farmers 4) problems in the extension on stubble and rice straw management in substitution of burning of farmers 5) extension guidelines on stubble and rice straw management in substitution of burning of rice farmers in Don Hai Sok sub-district, Nong Han district, Udon Thani province. This research was survey research. The population in this study was rice farmers in Don Hai Sok sub-district, Nong Han district, Udon Thani province who had registered as rice production farmers with Nong Han district office of agriculture, Udon Thani province in the production year 2022/2023 with the total number of 944 households. The sample size of 168 people was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.07. Data were collected by using interview form and were analyzed by using descriptive statistics such as frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, and ranking. The results of the research found that 1) 67.9% of farmers were female with the average age of 55.07 years old and 42.3% completed primary school education. They owned the average rice farming area of 7.35 Rai, had the average labor in the household of 2.61 people, earned the average income from rice production of 24,613.10 Baht/year, earned the average income from other types of work in agricultural sector of  22,960.94 Baht/year, had the average expense from rice production of  12,641.67 Baht/year, had the average expense from other work in the agricultural sector of  9,782.81 Baht/year, 77.4% held no social status, and 79.8% were members of BAAC customer group.  2) Farmers had knowledge about stubble and rice straw management in substitution of burning, overall, at the high level with the least knowledge on the aspect of disposing stubbles and rice straws for a long period of time causing the rice straw quantity to decrease and loss more nutrients.  3) Farmers practiced on stubble and rice straw management in substitution of burning, overall, at the low level. The most practice aspect was on the use of rice straw in covering up to soil around the tree trunks in order to help with the growth during dry season as rice straws can help with humidity control, humidity evaporation protection in the soil, and shelter for useful microorganism. 4) Farmers faced with the problems in stubble and rice straw management in substitution of burning, overall, at the moderate level. And 5) Farmers needed the extension guidelines regarding stubble and rice straw management in substitution of burning on the aspect of knowledge at the highest level. The most needed aspect was that there should be the extension on giving knowledge about the benefits of the ploughing of stubbles and rice straws.en_US
dc.contributor.coadvisorนารีรัตน์ สีระสารth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2659001297.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.