Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13865
Title: แนวทางการส่งเสริมการจัดการตอซังและฟางข้าวทดแทนการเผาของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในตำบลดอนหายโศก อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
Other Titles: Extension guidelines for stubble and rice straw management substitute for burning of famers in Don Hai Sok Sub-district, Nong Han District, Udon Thani Province
Authors: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม
ณัฐชญา อัตรา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นารีรัตน์ สีระสาร
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ฟางข้าว--ไทย--อุดรธานี
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการตอซังและฟางข้าวทดแทนการเผาของเกษตรกร 3) การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการตอซังและฟางข้าวทดแทนการเผาของเกษตรกร 4) ปัญหาในการส่งเสริมการจัดการตอซังและฟางข้าวทดแทนการเผาของเกษตรกร และ 5) แนวทางการส่งเสริมการจัดการตอซังและฟางข้าวทดแทนการเผาของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในตำบลดอนหายโศก อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในตำบลดอนหายโศก อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่มีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวกับทางสำนักงานเกษตรอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ในปีการผลิต 2565/2566 จำนวน 944 ครัวเรือน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ค่าความคาดเคลื่อน 0.07 ได้จำนวน 168 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 67.9 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 55.07 ปี ร้อยละ 42.3 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีพื้นที่ทำนาของตนเองเฉลี่ย 7.35 ไร่ มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.61 ราย มีรายได้จากการผลิตข้าวเฉลี่ย 24,613.10 บาท/ปี มีรายได้จากภาคการเกษตรอื่น ๆ เฉลี่ย 22,960.94 บาท/ปี ค่าใช้จ่ายจากการผลิตข้าวเฉลี่ย 12,641.67 บาท/ปี ค่าใช้จ่ายจากภาคการเกษตรอื่น ๆ เฉลี่ย 9,782.81 บาท/ปี ร้อยละ 77.4 ไม่มีตำแหน่งทางสังคม ร้อยละ 79.8 เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธกส. 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการการจัดการตอซังและฟางข้าวทดแทนการเผาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความรู้น้อยที่สุดในประเด็นการทิ้งตอซังและฟางข้าวไว้นานอาจทำให้ปริมาณของฟางข้าวลดลงและธาตุอาหารสูญเสียไป 3) เกษตรกรมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการตอซังและฟางข้าวทดแทนการเผาในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีการปฏิบัติมากสุดในประเด็น การใช้ฟางข้าวคลุมดินรอบโคลนต้นไม้ เพื่อให้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากฟางข้าวช่วยควบคุมความชื้น ป้องกันการระเหยความชื้นที่อยู่ในดินและเป็นที่อาศัยของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ 4) เกษตรกรมีปัญหาในการจัดการตอซังและฟางข้าวทดแทนการเผาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหามากสุดในประเด็น แหล่งความรู้ในการจัดการตอซังและฟางข้าว และ 5) เกษตรกรมีความต้องการแนวทางการส่งเสริมการจัดการตอซังและฟางข้าวทดแทนการเผาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเกษตรกรมีความต้องการแนวทางการส่งเสริมการจัดการตอซังและฟางข้าวทดแทนการเผาด้านความรู้สูงที่สุด โดยต้องการมากสุดในประเด็น เจ้าหน้าที่ควรส่งเสริมให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของการไถกลบตอซังและฟางข้าว
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13865
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2659001297.pdf1.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.