Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13866
Title: แนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
Other Titles: Extension guidelines for organic rice production of farmers in Non Sa-at Sub-district Municipality, Sribun Rueang District, Nong Bua Lamphu Province
Authors: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม
บุญญาพร ปัญญาเต๋
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ข้าว--เกษตรอินทรีย์--ไทย--หนองบัวลำภู
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตและการรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร 3) สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร 4) ปัญหาการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร และ 5) การได้รับ และความต้องการแนวทางส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษาคือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในตำบลโนนสะอาด อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ที่ขึ้นทะเบียนข้าวนาปีกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในปี 2565/2566 จำนวน 1,687 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยาเมเน ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้จำนวน 183 ราย สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 54.1 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 47.80 ปี ร้อยละ 58.5 จบระดับประถมศึกษามีประสบการณ์ในการทำการนาเฉลี่ย 19.32 ปี ร้อยละ 45.9 ปลูกข้าวพันธุ์ กข 15 ร้อยละ 100.0 ยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการขอการรับรองมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ ร้อยละ 66.1 เป็นสมาชิกกลุ่ม/สถาบันเกษตรกร ร้อยละ 98.4 เคยอบรม สัมมนาหรือศึกษา  ดูงาน ต้นทุนทำนาเฉลี่ย 4,219.95 บาทต่อไร่ รายได้จากการทำนาเฉลี่ย 7,142.08 บาทต่อไร่ 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตและการรับรองมาตรฐานข้าวอินทรีย์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความรู้น้อยที่สุดในด้าน ข้อกำหนดการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 3) เกษตรกรมีการปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยไม่ปฏิบัติใน 4 ประเด็น คือ (1) เลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่ผลิตโดยวิธีเกษตรอินทรีย์ (2) การวิเคราะห์คุณภาพดินเป็นประจำทุกปี (3) ไม่ใช้ปุ๋ยเคมีหรือสารสังเคราะห์ (4) การแยกสีระหว่างข้าวทั่วไปกับข้าวอินทรีย์ 4) ปัญหาการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีปัญหามากที่สุดในด้าน การขอใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์  ด้านการตลาดและการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ และ 5) เกษตรกรได้รับการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยได้รับการส่งเสริมน้อยที่สุด ในด้านวิธีการส่งเสริม คือ การทัศนศึกษาดูงาน แปลงเรียนรู้ เกษตรกรมีความต้องการแนวทางส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความต้องการมากที่สุดในด้านการสนับสนุน คือ เมล็ดพันธุ์ สารชีวภัณฑ์ งบประมาณ นวัตกรรมเทคโนโลยีในการผลิตข้าวอินทรีย์แบบครบวงจร
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13866
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
2659001339.pdf5.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.