กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13869
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension guidelines for management administration of maize collaborative farming groups in Nong Chang District, Uthai Thani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม สรินทร์ อินไชย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ อาหารสัตว์จากข้าวโพด--ไทย--อุทัยธานี |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคล สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2) การบริหารจัดการกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 3) ปัญหาการบริหารจัดการกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และ 4) ความต้องการแนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มแปลงใหญ่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี ที่ขึ้นทะเบียนในระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่จำนวน 137 ราย โดยการวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากประชากรทั้งหมด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพด้วยการสนทนากลุ่มจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้เกี่ยวข้องจำนวน 12 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 56.9 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 55.95 ปี ร้อยละ 35.0 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เฉลี่ย 14.36 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 3.82 คน ไม่มีตำแหน่งทางสังคม ร้อยละ 89.8 ประกอบอาชีพหลักคือทำนา ร้อยละ 98.5 มีรายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 245,107.30 บาทต่อปี มีรายได้จากนอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 40,612.90 บาทต่อปี เกษตรกรร้อยละ 81.8 ใช้เงินส่วนตัวเป็นแหล่งเงินทุนและร้อยละ 64.2 มีแหล่งสินเชื่อจากธนาคาร 2) มีการบริหารจัดการกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การวางแผน การจัดการองค์กร การจัดคนเข้าทำงาน การอำนวยการ และการควบคุม ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกประเด็น โดยมีการบริหารจัดการกลุ่มสูงสุดในด้านการอำนวยการ 3) เกษตรกรมีปัญหาในการส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มแปลงใหญ่ทั้ง 5 ด้านในภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด โดยประเด็นที่เป็นปัญหาสูงสุด คือ ด้านการจัดคนเข้าทำงาน 4) เกษตรกรมีความต้องการแนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มแปลงใหญ่ทั้ง 5 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งประเด็นที่มีความต้องการแนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มในระดับมากที่สุด คือ ด้านการวางแผน ในประเด็นที่กลุ่มควรมีการกำหนดแผนกิจกรรม แผนการผลิต การตลาดของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของสมาชิกร่วมกันและกลุ่มควรมีการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์และทิศทางการดำเนินการของกลุ่มให้ชัดเจน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13869 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2659001560.pdf | 1.72 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น