กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13871
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ในการควบคุมศัตรูพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension guidelines for the use of biological pest control products to reducing the use of agricultural chemicals of famers in Nong Na Kham Sub-district, Mueang Udon Thani District Udon Thani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม นฤมล ประทุมมาศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นารีรัตน์ สีระสาร |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ข้าวนาปี--โรคและศัตรูพืช--การควบคุมทางชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2566 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตข้าว และการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว 3) ความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อลดสารเคมีทางการเกษตร 4) การได้รับการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร และ 5) ปัญหาและแนวทางการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อลดสารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีในตำบลหนองนาคำ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี จำนวน 1,777 ครัวเรือนที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ปีการผลิต 2567 ตามข้อมูลทะเบียนเกษตรกรกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโรยามาเน ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 184 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1)เกษตรกรร้อยละ 54.9 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 57.04 ปี ร้อยละ 72.8 จบระดับประถมศึกษามีประสบการณ์ทำการเกษตรเฉลี่ย 21.72 ปี ร้อยละ 100.0 เป็นสมาชิกลูกค้า ธกส. ร้อยละ 46.7 ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการใช้ชีวภัณฑ์ผ่านเจ้าหน้าที่ภาครัฐมีพื้นที่ถือครองด้านการเกษตรของตนเองเฉลี่ย 9.25 ไร่รายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 43,984.89 บาท/ปี 2) เกษตรกรร้อยละ 67.9 ทำนาแบบนาดำ ร้อยละ 87.0 ใช้พันธุ์ข้าวเหนียว กข 6 พบโรคระบาดในฤดูกาลผลิตที่ผ่านมา ได้แก่โรคใบไหม้ และโรคใบจุดสีน้ำตาล ตามลำดับ และพบแมลงศัตรูข้าวในฤดูลกาลผลิตที่ผ่านมา ได้แก่ หนอนห่อใบข้าว หนอนกอข้าว และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ตามลำดับ เกษตรกรร้อยละ 56.5 มีการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูข้าว 3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความรู้น้อยที่สุดในประเด็น การเลือกใช้ชนิดชีวภัณฑ์ให้ตรงกับชนิดของแมลงเป้าหมายและใช้ในอัตราตามคำแนะนำ 4) เกษตรกรได้รับการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีความต้องการการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยต้องการวิธีการส่งเสริมแบบสาธิตมากที่สุด และ 5) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีปัญหาสูงสุดด้านการสนับสนุน เกษตรกรเห็นด้วยกับแนวทางการส่งเสริมการใช้ชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเห็นด้วยกับแนวทางด้านวิธีการส่งเสริม และด้านการสนับสนุนในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะในประเด็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ควรจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้เกษตรกรเข้าใจการใช้ชีวภัณฑ์อย่างถูกต้องและเห็นผลได้จริงและหน่วยงานราชการและเอกชนควรร่วมบูรณาการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมที่สนับสนุนการใช้ชีวภัณฑ์ให้แก่เกษตรกร |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2566 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13871 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2659002055.pdf | 6.35 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น