Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13880
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จรีลักษณ์ รัตนาพันธ์ | th_TH |
dc.contributor.author | สาธิต ธรรมขันทา, 2527- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2025-01-30T04:32:02Z | - |
dc.date.available | 2025-01-30T04:32:02Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13880 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังได้รับการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง การสร้างสื่อแอนิเมชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 จังหวัดพิษณุโลก (2) ศึกษาทักษะกระบวนการทำงานการสร้างสื่อแอนิเมชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังจากสิ้นสุดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง การสร้างสื่อแอนิเมชัน และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง การสร้างสื่อแอนิเมชัน กลุ่มตัวอย่างวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนครชุมพิทยา รัชมังคลาภิเษก จำนวน 17 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง การสร้างสื่อแอนิเมชัน (2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง การสร้างสื่อแอนิเมชัน (3) แบบสังเกตทักษะกระบวนการทำงานการสร้างสื่อแอนิเมชัน และ (4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง การสร้างสื่อแอนิเมชัน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที แบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระจากกัน ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง การสร้างสื่อแอนิเมชัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนมีทักษะกระบวนการทำงานการสร้างสื่อแอนิเมชัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า นักเรียนมีทักษะกระบวนการทำงานด้าน การวางแผนการทำงานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการทำงาน ด้านผลงาน และการนำเสนอ ตามลำดับ และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง การสร้างสื่อแอนิเมชัน ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนรู้ รองลงมา คือ ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ และด้านการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | การสอนแบบโครงงาน | th_TH |
dc.title | ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง การสร้างสื่อแอนิเมชัน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทำงาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 จังหวัดพิษณุโลก | th_TH |
dc.title.alternative | Effects of project-based learning management on topic of creating animation media for Mathayom Suksa VI students in schools under the Secondary Education Service Area Office 39 in Phitsanulok Province | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to: (1) compare learning achievement of the student before and after learning through project-based learning management on the topic of creating animation media for Mathayom Suksa VI students in schools under the secondary education service area office 39 in Phitsanulok province; (2) study work skills of creating animation media of Mathayom Suksa VI students after completing the project-based learning on creating animation media; and (3) study opinions of Mathayom Suksa VI students toward project-based learning of creating animation media. The research sample consisted of 17 Mathayom Suksa VI students at Nakhonchumpittaya Ratchamangkalapisek School in the first semester of the academic year 2020. The research instruments used in this study were (1) project-based learning plans on the topic of creating animation media; (2) a learning achievement test on the topic of creating animation media; (3) a project work skill evaluation form; and (4) a students’ opinions questionnaire towards the project-based learning of creating animation media. The mean, standard deviation, and t-test for dependent samples were used to analyze data. The results of this research were (1) the posttest-learning achievement scores of the students after learning through the project-based learning management on the topic of creating animation media were significantly higher than their pre-learning counterpart scores at the .05 level of statistical significance; (2) mean scores of the project work skills were at a high level in all aspects. Students demonstrated their skills in planning their work the highest followed by working process, final products, and presentation respectively; and (3) students’ opinions towards the project-based learning on the topic of creating animation media were at a strongly agree level in general. While the knowledge gained from the learning got the highest average scores followed by learning atmosphere and learning management respectively. | en_US |
dc.contributor.coadvisor | วรางคณา โตโพธิ์ไทย | th_TH |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License