Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13882
Title: | การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินสมรรถนะผู้เรียนของครูระดับประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก |
Other Titles: | Needs assessment for competencies development in measurement and evaluation of primary school teachers in Nakhon Nayok Primary Educational Service Area Office |
Authors: | วรรณ์ดี แสงประทีปทอง หทัยรัตน์ พานทอง, 2534- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศศิธร กาญจนสุวรรณ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์ การวัดผลทางการศึกษา |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะ ด้านการวัดและประเมินสมรรถนะผู้เรียนของครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายกกลุ่มตัวอย่างเป็นครูระดับประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ปีการศึกษา 2565 จำนวน 386 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินสมรรถนะผู้เรียนวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยปรากฏว่า ครูมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินสมรรถนะผู้เรียนรายด้าน เรียงลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมิน (PNImodified = .235) 2) การตรวจให้คะแนนและการแปลความหมายของคะแนน (PNImodified = .229) 3) การเลือกวิธีการวัดและประเมิน (PNImodified =. 224) 4) การพัฒนากระบวนการกำหนดเกรดและตัดสินผลการเรียน (PNImodified =. 219) 5) การใช้ผลการวัดและประเมินเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน (PNlmodified = .201) 6) การสื่อสารผลการวัดและประเมินให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (PNImodified =. 198) และ 7) จรรยาบรรณของผู้ประเมิน (PNImodified =. 095) ส่วนความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะในภาพรวม พบว่า ครูมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนา 5 ลำดับแรก ดังนี้ 1) การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมิน (PNImodified = .284) 2) การแปลความหมายของคะแนน (PNImodified = .254) 3) การวิเคราะห์และกำหนดสิ่งที่ต้องการวัดและประเมิน (PNImodified =. 250) 4) การจัดทำแผนผังการสร้างเครื่องมือ (PNImodified = .240) และ 5) การกำหนดระดับสมรรถนะผู้เรียน (PNI modifled = .238) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13882 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License