Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13885
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรีรัตน์ อารีรักษ์สกุล ก้องโลกth_TH
dc.contributor.authorปภณ ตั้งประเสริฐ, 2536-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2025-01-30T07:02:01Z-
dc.date.available2025-01-30T07:02:01Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13885en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิด และ (2) พัฒนาความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิด กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านทุ่ง จังหวัดลำปาง จำนวน 26 คน จัดห้องเรียนแบบเรียนรวม มีนักเรียนคละความสามารถจำนวน 19 คน และนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ จำนวน 7 คน ดำเนินการวิจัยจำนวน 3 วงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิด เรื่อง เวลา (2) แบบบันทึกการถอดโปรโตคอล ในชั้นเรียน (3) แบบประเมินผลงานนักเรียน (4) แบบบันทึกการสังเกตชั้นเรียน (5) แบบบันทึกหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (6) แบบทดสอบย่อยวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ (7) แบบวัดความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ (8) แบบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา ตีความหมาย และลงข้อสรุป โดยนำเสนอในรูปความเรียง ผลการวิจัยพบว่า หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิด (1) ความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนทั้งชั้นเรียนสูงขึ้นทันทีหลังการปฏิบัติในวงจรที่สอง และลดลงเพียงเล็กน้อยในวงจรถัดมา อย่างไรก็ตาม คะแนนเฉลี่ยมีค่ามากกว่าร้อยละ 70 ในทุกวงจร และภายหลังสิ้นสุดการปฏิบัติการ (74.23, 81.35, 79.04 และ 70.77 ตามลำดับ) หากพิจารณาเฉพาะนักเรียนปกติ โดยไม่รวมนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้ พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 90 ในทุกวงจร และมากกว่าร้อยละ 80 ภายหลังสิ้นสุดการปฏิบัติการ (91.32, 90.79 และ 90.53 และ 86.32 ตามลำดับ) และ (2) ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนทั้งชั้นเรียนเพิ่มขึ้นจากระดับพอใช้ เป็นระดับดี และดีมาก ตามลำดับ โดยในวงจรที่หนึ่ง นักเรียนร้อยละ 26.92 มีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ และนักเรียนร้อยละ 73.08 มีความสามารถในการสื่อสาร ทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี ในวงจรที่สอง นักเรียนร้อยละ 11.54 มีความสามารถอยู่ในระดับพอใช้ และร้อยละ 88.46 มีความสามารถอยู่ในระดับดี ในวงจรที่สาม ไม่มีนักเรียนที่มีความสามารถในการสื่อสารอยู่ในระดับพอใช้ นักเรียนร้อยละ 19.23 มีความสามารถอยู่ในระดับดี และร้อยละ 80.77 มีความสามารถอยู่ในระดับดีมาก และท้ายการปฏิบัติการนักเรียนร้อยละ 80.77 มีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับดีขึ้นไป และนักเรียนที่มีภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้มีพัฒนาการของความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นจากระดับพอใช้ เป็นระดับดี และดีมาก เช่นเดียวกันth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการแก้ปัญหา--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)th_TH
dc.subjectคณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)--ไทย--ลำปางth_TH
dc.titleการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา โดยใช้วิธีการสอนแบบเปิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านทุ่ง จังหวัดลำปางth_TH
dc.title.alternativeDeveloping mathematics problem solving and mathematics communication ability by using open approach in the topic of time for grade 3 students at Chumchon Ban Thung School Lampang Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this action research were to (1) develop the mathematics problem solving abilities of students by using the Open Approach learning activities in the topic of Time and (2) develop the mathematical communication abilities of every student by using the Open Approach learning activities in the topic of Time. The target group was 26 Grade 3 students of Chumchon Ban Thung School, inclusive education class; 19 students were normal students and 7 students were identified as having a learning disability (LD). The research was conducted in 3 cycles. The research instruments consisted of (1) learning management plans by using Open Approach in the topic of Time (2) the protocol analysis recording forms in the classroom (3) the performance assessment forms (4) the mathematics classroom observation forms (5) the recording form after using learning activities plan (6) the mathematics problem-solving ability quizzes (7) the mathematics problem-solving ability tests, and (8) the mathematics communication ability test. The data were analyzed by using mean, standard deviation, content analysis, interpretation, and conclusion presenting in essay form. The results after using the Open Approach showed that (1) the mathematics problem solving abilities of students in the whole class were higher immediately after practicing in the second cycle. However, the average score was greater than 70 percent in all cycles and after the end of the operation at 74.23, 81.35, 79.04 and 70.77 respectively. Nevertheless, the mathematics problem solving abilities of students with learning disability were more than 90% in all cycles and more than 80% after the end of the operation at 91.32, 90.79 and 90.53 and 86.32 respectively; and (2) the mathematical communication abilities of students increased from fair level to good and very good level respectively. In the first cycle 26.92% of the students had a fair level of the mathematical communication abilities, and 73.08% of students had good mathematical communication abilities. In the second cycle, 11.54% of students had a fair level and 88.46% of students had a good level. In the third cycle, there were no students fair level, 19.23% of students had a good level of abilities and 80.77% of students had a very good level of ability. And at the end of the operation, 80.77% of students had a good level or higher in the mathematical communication abilities. Furthermore, students with learning disability also improved their mathematical communication abilities from fair level to good and very good.en_US
dc.contributor.coadvisorวินิจ เทือกทองth_TH
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.25 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons