Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13887
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธโสธร ตู้ทองคำth_TH
dc.contributor.authorชนินทร์ อ๋องหงวน, 2533-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2025-01-30T08:55:04Z-
dc.date.available2025-01-30T08:55:04Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13887en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัญหาทางการเมืองของการนำนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นไปปฏิบัติ กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ (พ.ศ. 2554 ถึง 2566) (2) ปัจจัยทางการเมืองที่มีผลต่อการนำนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นไปปฏิบัติ กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ (พ.ศ. 2554 ถึง 2566) (3) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาการนำนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นไปปฏิบัติ กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเหนือคลองอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ (พ.ศ. 2554 ถึง 2566) การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ ด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ (1) นักการเมือง จำนวน 2 คน (2) เจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 3 คน (3) คณะกรรมการกองทุน จำนวน 5 คน (4) กลุ่มองค์การภาคประชาสังคม จำนวน 4 คน (5) ประชาชนที่เกี่ยวข้องกับกองทุน จำนวน 2 คน รวมทั้งสิ้น 16 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบเก็บเอกสาร และแบบสัมภาษณ์ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัญหาทางการเมืองของการนำนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นไปปฏิบัติ ได้แก่ ฝ่ายการเมืองและหน่วยงานราชการส่วนกลางกำหนดนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นคลุมเครือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีระดับความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของนโยบายที่แตกต่างกัน หน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคกดดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยอมรับนโยบายมาปฏิบัติ ผู้บริหารท้องถิ่นไม่ได้แสวงหาการสนับสนุนการนำนโยบายกองทุนไปปฏิบัติเท่าที่ควร และขาดความตระหนักในการปรับตัวให้ท้องถิ่นพร้อมรองรับกับนโยบาย หน่วยงานระดับบน ตั้งแต่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติระดับเขตและส่วนกลาง ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการนำนโยบายกองทุนไปปฏิบัติ (2) ปัจจัยทางการเมืองที่มีผลต่อการนำนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นไปปฏิบัติ ได้แก่ ฝ่ายการเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นมีบทบาทแทรกแซงการดำเนินนโยบายกองทุนอย่างชัดเจน รัฐบาลไม่ได้สนับสนุนงบประมาณอย่างเหมาะสม กลุ่มชนชั้นนำในท้องถิ่นเพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่ให้การสนับสนุนนโยบาย นอกจากนี้การที่ฝ่ายการเมืองไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องอัตรากำลัง ทำให้มีจำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอและขาดความรู้ความเข้าใจในนโยบายกองทุน จึงส่งผลต่อทัศนะของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในการประสานขานรับนโยบาย (3) ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาการนำนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นไปปฏิบัติ คือ ฝ่ายการเมืองต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจนบนพื้นฐานของหลักนิติธรรมให้ความสำคัญกับการนำนโยบายกองทุนไปปฏิบัติ ควรติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง จึงจะทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับกองทุนเกิดความตื่นตัว สนใจและเข้าใจบทบาทหน้าที่ในการนำนโยบายกองทุนไปปฏิบัติตามไปด้วย ผ่านการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ให้มีการพบปะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายระหว่างกันth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectความขัดแย้งทางการเมือง--ไทย--กระบี่th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่นth_TH
dc.titleปัญหาทางการเมืองของการนำนโยบายกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นไปปฏิบัติ กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ (พ.ศ. 2554 ถึง 2566)th_TH
dc.title.alternativePolitical problems of implementing the community health security fund policy : a case study of Nuea Khlong Subdistrict Municipality, Nuea Khlong District, Krabi Province (2011 to 2023)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were (1) to study political problems in implementing the community health security fund policy: a case study of Nuea Khlong Subdistrict Municipality, Nuea Khlong District, Krabi province from 2011 to 2023, (2) to investigate the political factors affecting the implementation of community health security fund policy: a case study of Nuea Khlong Subdistrict Municipality, Nuea Khlong District, Krabi province from 2011 to 2023, and (3) to recommend solutions on implementing the community health security fund policy: a case study of Nuea Khlong Subdistrict Municipality, Nuea Khlong District, Krabi province from 2011 to 2023. This study was qualitative research using document research and interviews. The purposive samples consisted of 2 politicians, 3 government officers, 5 members of the fund committee, 4 members of civil society organizations, and 2 people related to the fund, totaling 16 interviewees in 5 groups. The research tools were data collection forms and interview forms, and then the data were analyzed by descriptive analysis. This study found that (1) political problems in the implementation of community health security fund policy included political parties and central government agencies setting unclear community health security fund policy. Stakeholders had different levels of understanding of the policy objectives. Moreover, regional government agencies put pressure on local administrative organizations to accept the policy and put it into action. The local administrator did not seek enough support in implementing fund policy and lacked awareness of local adjustments to support policy. The upper agency levels, namely District Public Health Offices, Provincial Public Health Offices, District and Central National Health Security Offices, did not assist local administrative organizations in implementing fund policy. (2) Political factors affecting the implementation of community health security fund policy included the political parties at both the national and local levels having overlap roles in the implementation of fund policy. The government did not support the budget appropriately. Only some local leaders supported the policy. In addition, the political parties did not focus on manpower, resulting in an insufficient number of officers and a lack of knowledge and understanding of fund policy. Therefore, it affected the opinions of local officers when responding to policy. (3) The recommended solutions for implementing the community health security fund policy were that the political parties must clearly define their roles and responsibilities on the basis of the rule of law and prioritize the implementation of the fund policy. In addition, the political parties should continuously monitor and evaluate performance. As a result, stakeholders related to the community health security fund will be alert, interested, and understand their role in implementing the fund policy through organizing events to meet, exchange knowledge, and build networks.en_US
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT (5).pdfเอกสารฉบับเต็ม17 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons