Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13901
Title: การส่งเสริมการผลิตข้าวปลอดภัยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่ ในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Extension of safety rice production according to good agricultural practice by collaborative farmers group in Sanpatong District, Chiang Mai Province
Authors: บำเพ็ญ เขียวหวาน
ณัฐธิดา กระจ่างรัตน์, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พลสราญ สราญรมย์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ข้าว--ไทย--เชียงใหม่--การผลิต
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการผลิตข้าวปลอดภัยและการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร 2) ความรู้และแหล่งความรู้ในการผลิตข้าวปลอดภัยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร 3) ความต้องการในการส่งเสริมการผลิตข้าวปลอดภัยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตข้าวปลอดภัยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรและเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ปี 2564 จำนวน 193 ราย กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ตามสูตรทาโร ยามาเน ที่ค่าความคลาดเคลื่อนที่ 0.05 ได้จำนวน 130 ราย ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลาก จัดเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะพื้นที่เพาะปลูก เป็นที่ราบลุ่ม ลักษณะดินเป็นดินเหนียว แหล่งน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกมาจากคลองชลประทาน ส่วนใหญ่ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์สันป่าตอง 1 ใช้วิธีปลูกข้าวแบบปักดำมีการใช้ปุ๋ยเคมี โรคและสัตว์ศัตรูที่พบ คือ โรคใบสีแสดและหอยเชอรี่ มีการปฏิบัติการผลิตข้าวปลอดภัยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตข้าวปลอดภัยตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีอยู่ในระดับมากที่สุด และได้รับความรู้จากแหล่งความรู้ในระดับปานกลางโดยได้รับความรู้จากสื่อกิจกรรมมากที่สุด 3) ความต้องการในการส่งเสริมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เกษตรกรส่วนใหญ่มีความต้องการวิธีการส่งเสริมผ่านการสื่อสารแบบกลุ่มโดยการฝึกอบรม มีความต้องการความรู้ เรื่องการบันทึกและการจัดเก็บข้อมูล และมีความต้องการการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี 4) ภาพรวมปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตข้าวปลอดภัยของเกษตรกรกลุ่มนาแปลงใหญ่อยู่ในระดับน้อย ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ คือ การส่งเสริมด้านความรู้ ได้แก่ การบันทึกและการจัดเก็บข้อมูล เกษตรกรส่วนใหญ่มีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมในประเด็นควรมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สมาชิกกลุ่มต้องการและเป็นความรู้ที่เหมาะสมกับพื้นที่
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13901
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.76 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons