Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13902
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริมth_TH
dc.contributor.authorกนกพร สุวรรณประสิทธิ์, 2529-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2025-02-01T02:52:44Z-
dc.date.available2025-02-01T02:52:44Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13902en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานทั่วไป สภาพสังคม เศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน 2) ความรู้และแหล่งความรู้ในการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร 3) การตัดสินใจเข้าร่วมโครงการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ในตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรในปี 2564 จำนวน 1,520 ราย กำหนดขนาดตัวอย่าง โดยใช้สูตรทาโร ยามาเน ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่าง 180 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยการจับสลาก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 70.6 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 54.39 ปี ร้อยละ 45.0 จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 75.0 ประกอบอาชีพทำสวน ร้อยละ 66.1 ไม่เป็นสมาชิกกลุ่ม มีพื้นที่ทำเกษตรเฉลี่ย 17.57 ไร่ มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.61 คน มีรายได้ภาคการเกษตรของครัวเรือนเฉลี่ย 546,944.44 บาทต่อปี มีรายได้นอกภาคการเกษตรของครัวเรือนเฉลี่ย 62,166.67 บาทต่อปี ร้อยละ 95.6 ใช้ทุนตนเองในการทำเกษตร 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยประเด็นที่เกษตรกรมีความรู้น้อยที่สุด คือ การส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้วยกระบวนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วม และใช้พื้นที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนา ในภาพรวมเกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ อยู่ในระดับน้อย โดยที่ได้รับสูงสุด คือ สื่อออนไลน์ 3) เกษตรกรเห็นว่าประเด็นต่าง ๆ มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยประเด็นที่มีผลสูงสุด คือ ด้านกิจกรรมลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิต โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร ที่ระดับนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ 0.01 ได้แก่ อายุ และการเป็นสมาชิกกลุ่ม และที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คือ จำนวนแรงงานในครัวเรือน 4) เกษตรกรมีปัญหาในการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาสูงสุด คือ ขาดการรับรู้เกี่ยวกับการจัดการถ่ายทอดความรู้ด้านการบริหารจัดการกลุ่มแปลงใหญ่ และเกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเห็นด้วยสูงสุดใน คือ ควรสร้างการรับรู้แก่เกษตรกร ให้ทราบถึงความสำคัญของการรับรองมาตรฐานการผลิต GAPth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectทุเรียน--การปลูก--ไทย--สุโขทัยth_TH
dc.subjectการส่งเสริมการเกษตร--ไทย--สุโขทัยth_TH
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัยth_TH
dc.title.alternativeFactors related to the participation in agricultural collaborative farming extension project of durian farmers in Ban Tuek Sub-district, Si Satchanalai District, Sukhothai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study the 1) basic general, social, and economic conditions of durian production farmers; 2) knowledge and knowledge resources regarding the extension for agricultural collaborative farming of farmers; 3) the decision to participate in the project and the factors related to the decision for agricultural collaborative farming project participation of farmers; and 4) problems and suggestions about the extension for agricultural collaborative farming. The research is survey research. The study population was 1,520 durian production farmers in Ban Tuek sub-district, Si Satchanalai district, Sukhothai province who registered with the Department of Agricultural Extension in 2021. The sample size of 180 people was determined by using the Taro Yamane formula with a marginal error value of 0.05. A simple random sampling using the lottery method was used. Data were collected using structured interview forms and were analyzed using descriptive statistics and multiple regression analysis. The results of the research revealed that 1) 70.6% of farmers were male with an average age of 54.39 years old, 45% completed primary school education, 75% were farmers, and 66.1% were not members of the group. The mean agricultural area was 17.57 Rai, the average number of laborers in the household was 2.61, the average household income from the agricultural sector was 546,944.44 Baht/year while the mean household income from outside of the agricultural sector was 62,166.67 Baht/year. Lastly, 95.6% of farmers used their personal funding in performing agricultural activities. 2) Overall, farmers had a high level of knowledge regarding the agricultural collaborative farming extension. The aspect that farmers had the least knowledge about was the knowledge process, participation, and area usage as the driving force to operate at the center of the development. Generally, the rate by which farmers received knowledge and information from various resources was at the lowest level but the highest received knowledge source was from online media. 3) Farmers highly believed in aspects impacting the decision to participate in the agricultural collaborative farming project. The most influential aspects were production cost reduction and productivity increase. The factors significant to the decision to participate in the agricultural collaborative farming project were age and membership status which were statistically significant at 0.01 level while the amount of labor in the household was significant at 0.05 level. 4) Overall, farmers moderately faced problems regarding the agricultural collaborative farming extension. The most problematic issue was the lack of information on knowledge transfer in collaborative farming management. Over all, The farmers agreed with suggestions regarding agricultural collaborative farming at a high level. They greatly agree on the need to convince farmers of the importance of getting GAP certification.en_US
dc.contributor.coadvisorพลสราญ สราญรมย์th_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.34 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons