Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13902
Title: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
Other Titles: Factors related to the participation in agricultural collaborative farming extension project of durian farmers in Ban Tuek Sub-district, Si Satchanalai District, Sukhothai Province
Authors: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม
กนกพร สุวรรณประสิทธิ์, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พลสราญ สราญรมย์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ทุเรียน--การปลูก--ไทย--สุโขทัย
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--สุโขทัย
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานทั่วไป สภาพสังคม เศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน 2) ความรู้และแหล่งความรู้ในการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร 3) การตัดสินใจเข้าร่วมโครงการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ในตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรในปี 2564 จำนวน 1,520 ราย กำหนดขนาดตัวอย่าง โดยใช้สูตรทาโร ยามาเน ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่าง 180 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยการจับสลาก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 70.6 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 54.39 ปี ร้อยละ 45.0 จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 75.0 ประกอบอาชีพทำสวน ร้อยละ 66.1 ไม่เป็นสมาชิกกลุ่ม มีพื้นที่ทำเกษตรเฉลี่ย 17.57 ไร่ มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.61 คน มีรายได้ภาคการเกษตรของครัวเรือนเฉลี่ย 546,944.44 บาทต่อปี มีรายได้นอกภาคการเกษตรของครัวเรือนเฉลี่ย 62,166.67 บาทต่อปี ร้อยละ 95.6 ใช้ทุนตนเองในการทำเกษตร 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยประเด็นที่เกษตรกรมีความรู้น้อยที่สุด คือ การส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้วยกระบวนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วม และใช้พื้นที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนา ในภาพรวมเกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ อยู่ในระดับน้อย โดยที่ได้รับสูงสุด คือ สื่อออนไลน์ 3) เกษตรกรเห็นว่าประเด็นต่าง ๆ มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยประเด็นที่มีผลสูงสุด คือ ด้านกิจกรรมลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิต โดยปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร ที่ระดับนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ 0.01 ได้แก่ อายุ และการเป็นสมาชิกกลุ่ม และที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คือ จำนวนแรงงานในครัวเรือน 4) เกษตรกรมีปัญหาในการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาสูงสุด คือ ขาดการรับรู้เกี่ยวกับการจัดการถ่ายทอดความรู้ด้านการบริหารจัดการกลุ่มแปลงใหญ่ และเกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเห็นด้วยสูงสุดใน คือ ควรสร้างการรับรู้แก่เกษตรกร ให้ทราบถึงความสำคัญของการรับรองมาตรฐานการผลิต GAP
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13902
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.34 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons