กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13910
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการผลิตส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension of pomelo production accordance with good agricultural practice in Bang Khon Tee District, Samut Songkhram Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง
สมหญิง ชัยจินดา, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ส้มโอ--การผลิต--ไทย--สมุทรสงคราม
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร 3) ปัญหา และข้อเสนอแนะในการผลิตส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ของเกษตรกร 4) ความต้องการและแนวทางการส่งเสริมการผลิตส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ ในอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงครามที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร ในปี 2564 จำนวน 899 ราย กำหนดขนาดตัวอย่างตามสูตรทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.07 ได้กลุ่มตัวอย่าง 166 ราย ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 54.93 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.57 ราย มีจำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 1.88 ราย ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรจากเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตร มีประสบการณ์ในการปลูกส้มโอเฉลี่ย 13.84 ปี 2) เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 4.00 ไร่ พื้นที่ของตนเองเฉลี่ย 3.70 ไร่ เช่าพื้นที่เฉลี่ย 0.30 ไร่ ปลูกแบบร่องสวน และเป็นสวนเดี่ยว มีการลอกเลนจำนวน 2 ปี/ครั้ง ตัดแต่งกิ่งจำนวน 2 ครั้ง/ปีส่วนใหญ่พบไรแดง ซึ่งใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัด เก็บเกี่ยวผลผลิตเอง ปริมาณผลผลิตส้มโอเฉลี่ย 1,713.25 กิโลกรัม/ไร่ รายได้จากการผลิตส้มโอเฉลี่ย 53,759.04 บาท/ไร่ ต้นทุนในการผลิตส้มโอเฉลี่ย 9,332.83 บาท/ไร่ส่วนใหญ่จำหน่ายผลผลิตผ่านพ่อค้าคนกลาง เกษตรกรปฏิบัติตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด มีเพียงด้านการบันทึกข้อมูลและการตามสอบที่ปฏิบัติน้อยกว่าด้านอื่น 3) เกษตรกรมีปัญหาระดับมาก ได้แก่ การบันทึกข้อมูล และต้นทุนการผลิตสูง เสนอแนะให้หน่วยงานภาครัฐสนับสนุนด้านความรู้เรื่อง การลดต้นทุนในการผลิต และการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูส้มโอ รวมถึงการบันทึกข้อมูลที่มีรูปแบบเข้าใจง่าย 4) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมในการผลิตส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ในระดับมากที่สุด ผ่านช่องทางจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยวิธีการอบรม/สาธิต แนวทางการส่งเสริมการผลิตส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี โดยนักส่งเสริมการเกษตร ให้ความรู้ในการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ถูกต้อง วิธีการเก็บเกี่ยวผลส้มโอในระยะที่เหมาะสม การบันทึกข้อมูลในรูปแบบที่เกษตรกรเข้าใจง่าย และความรู้เกี่ยวกับการลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้เกษตรนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติได้ถูกต้อง ได้รับการรับรองตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และเพิ่มช่องทางการตลาด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13910
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons