Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13924
Title: | ปัญหาเกี่ยวกับการยึดและคืนของกลางภายใต้พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 |
Other Titles: | Problems relating to seizure and returned exhibits under the Forest Act B.E. 2484 (1941) |
Authors: | ปวินี ไพรทอง ชณัฐกานต์ กันทะเนตร, 2535- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี การค้นและการยึด พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมายเกี่ยวกับการยึดและคืนของกลางในคดีป่าไม้ (2) ศึกษาถึงหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการยึดและคืนของกลางในคดีป่าไม้ในต่างประเทศ (3) ศึกษาวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคของการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการยึดและคืนของกลางในคดีป่าไม้ (4) ศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการยึดและคืนของกลางในคดีป่าไม้ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยทางนิติศาสตร์ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร โดยมุ่งศึกษาจากตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ระเบียบ ข้อตกลง บทความ รายงานการศึกษาวิจัย ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา คำพิพากษาศาลปกครองและศาลฎีกา รวมตลอดถึงเอกสารอื่นและข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า (1) ตามแนวคิดการตีความถ้อยคำของตัวบทกฎหมายนั้นจะต้องพิจารณาถ้อยคำของตัวบทเป็นลำดับแรก หรือต้องค้นหาเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าวให้เจอ และตีความให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับเจตนารมณ์นั้น และนำเอาทฤษฎีลำดับศักดิ์ของกฎหมายมาพิจารณาประกอบก็จะได้ความว่ากฎหมายนั้นมีหลายรูปแบบแต่ละรูปแบบก็จะมีศักดิ์ของกฎหมายนั้นแตกต่างกัน การจัดลำดับศักดิ์จะทำหน้าที่แก้ไขปัญหาความขัดแย้งแห่งกฎหมายแล้วบอกให้ทราบว่าจะต้องใช้กฎหมายฉบับใดมาบังคับใช้แก่คดี ซึ่งมีหลักการโดยสรุปคือกรณีที่กฎหมายเฉพาะเรื่องขัดแย้งกับกฎหมายทั่วไปต้องใช้บังคับกฎหมายเฉพาะเรื่อง (2) จากการศึกษากฎหมายป่าไม้ของสาธารณรัฐอินเดีย และกฎหมายป่าไม้ของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ พบว่าทั้ง 2 ประเทศ ได้บัญญัติความรับผิดสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ได้กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไว้เพื่อลดความเสี่ยงในการอาศัยอำนาจตามกฎหมายข่มเหงรังแกประชาชนจึงเห็นควรนำมาบัญญัติเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติป่าไม้ของประเทศไทยด้วย (3) ในทางปฏิบัติแม้ว่าพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 กับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาจะมีลำดับศักดิ์ของกฎหมายที่เท่าเทียมกัน แต่เมื่อพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 เป็นกฎหมายเฉพาะเรื่องเมื่อขัดแย้งกับประมวลวิธีพิจารณาความอาญาซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไป ผู้บังคับใช้กฎหมายก็จะต้องใช้กฎหมายเฉพาะเรื่องก่อน ซึ่งหากกฎหมายเฉพาะเรื่องไม่มีบัญญัติเรื่องใดเรื่องหนึ่งไว้ ก็ค่อยนำกฎหมายทั่วไปมาปรับใช้กับกรณีนั้น (4) ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะว่าให้มีการแก้ไขและเพิ่มเติมบทบัญญัติของมาตราที่เกี่ยวข้องกับการยึดและคืนของกลางในพระราชบัญญัติป่าไม้ให้มีความชัดเจนและครอบคลุมยิ่งขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13924 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License