Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13925
Title: ปัญหาทางกฎหมายในการยุติการตั้งครรภ์ของผู้เยาว์และการได้รับคำปรึกษาก่อนยุติการตั้งครรภ์
Other Titles: Legal problems concerning abortion among adolescents and consultation before the abortion
Authors: อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์
พรทิพย์ ตั้งใจ, 2538-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
การทำแท้งถูกกฎหมาย
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการกำกับดูแลการทำแท้ง (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจการตัดสินใจที่จะยุติการตั้งครรภ์ของผู้เยาว์ และการได้รับคำปรึกษาจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมของหญิงที่ต้องการยุติการตั้งครรภ์ ระหว่างประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทย และกฎหมายต่างประเทศ (3) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและแนวทาการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐๕ (4) เพื่อเสนอแนะปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับความผิดฐานทำแท้ง การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตำราทางวิชาการ งานวิจัย คำพิพากษาศาลฎีกา บทความจากวารสารหรือนิตยสารทางกฎหมาย ข้อมูลจากเว็บไซต์ทางอินเตอร์เน็ตและของต่างประเทศเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์หรือทำแท้งโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น ประเทศสิงคโปร์และสาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ปัญหา เปรียบเทียบ สรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่า (1) ประมวลกฎหมายอาญากำหนดให้การทำแท้งไม่เป็นความผิดหากหญิงทำแท้งขณะอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ หากเป็นการกระทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่กฎหมายกำหนด โดยมีแนวคิดว่าสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของหญิงเป็นสิทธิพื้นฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะกระทำการใดไม่กระทำการใดในเนื้อตัวร่างกายของตน และรัฐมีหน้าที่กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมให้บุคคลใช้สิทธิและเสรีภาพโดยจัดให้มีมาตรการในการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย (2) ในกรณีที่หญิงที่ประสงค์จะทำแท้งเป็นผู้เยาว์ประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้กำหนดไว้ แต่พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และกฎกระทรวงกำหนดประเภทของสถานบริการและการดำเนินการของสถานบริการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2562 กำหนดให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปมีสิทธิตัดสินใจที่จะยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ที่เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญาได้ด้วยตนเอง แต่สำหรับหญิงอายุต่ำกว่า 15 ปี ไม่มีสิทธิตัดสินใจด้วยตนเอง และไม่ได้กำหนดเงื่อนไขว่าต้องปฏิบัติอย่างไร แต่มาตรการทางกฎหมายของประเทศสิงคโปร์และสาธารณรัฐฝรั่งเศสกำหนดไว้ชัดเจนว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร โดยคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิของหญิงตั้งครรภ์ สำหรับการได้รับคำปรึกษาก่อนการทำแท้ง ประมวลกฎหมายอาญาของไทยกำหนดให้เฉพาะหญิงที่มีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ สามารถทำแท้งได้ หากเข้ารับการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพที่กฎหมายกำหนด ซึ่งแตกต่างจากประเทศสิงคโปร์และสาธารณรัฐฝรั่งเศส ที่กำหนดให้หญิงตั้งครรภ์ทุกรายได้เข้ารับการตรวจและรับคำปรึกษา (3) จากการวิเคราะห์ประมวลกฎหมายอาญายังไม่เหมาะสมกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน และหญิงที่ประสงค์จะทำแท้งทุกรายควรได้รับทราบรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการทำแท้งเพื่อประกอบการตัดสินใจที่เหมาะสม ไม่เฉพาะแต่หญิงที่มีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์เท่านั้น (4) ประมวลกฎหมายอาญาควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดให้ชัดเจนกรณีของหญิงตั้งครรภ์เป็นผู้เยาว์ว่าต้องปฏิบัติอย่างไรและให้หญิงตั้งครรภ์ทุกรายเข้ารับการตรวจและรับคำปรึกษาก่อนตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13925
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.94 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons