กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13929
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorปัณณวิช ทัพภวิมลth_TH
dc.contributor.authorปรินทร์ เหมือนพงษ์, 2539-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2025-04-02T06:57:41Z-
dc.date.available2025-04-02T06:57:41Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13929en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมา หลักการ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา (2) ศึกษาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทย สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา (3) วิเคราะห์เปรียบเทียบปัญหาเกี่ยวกับความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทยกับความผิดลหุโทษของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา และ (4) เสนอแนะแนวทางปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องที่เกี่ยวกับความผิดลหุโทษ ของประเทศไทยให้เกิดความเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ทันต่อยุคสมัย และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77 การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีศึกษาวิจัยเอกสารจากหนังสือ ตำรา บทความ คำพิพากษาของศาลฎีกา ตัวบทกฎหมาย วารสารกฎหมาย เอกสารทางวิชาการ หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ และข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยทำการนำข้อมูลที่ได้จากเอกสาร มารวบรวมและวิเคราะห์เพื่อเป็นข้อเสนอแนะต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) ความผิดลหุโทษเป็นความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกระยะสั้นจึงไม่สอดคล้องกับหลักการดำเนินกระบวนการยุติธรรมสมัยใหม่และทฤษฎีการลงโทษเพื่อการแก้ไขฟื้นฟู และความผิดลหุโทษบางฐานมีความซํ้าซ้อนกับความผิดอาญาตามกฎหมายเฉพาะอื่นๆ จนทำให้เกิดปัญหากฎหมายอาญาเฟ้อ นอกจากนี้ ความผิดลหุโทษฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณาตามมาตรา 393 ก็ไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ทั้งๆ ที่มีอยู่ในหลักเกณฑ์ที่สมควรจะกำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้ (2) ความผิดลหุโทษของประเทศไทยและสหรัฐอเมริกามีอัตราโทษจำคุก แต่สาธารณรัฐฝรั่งเศสไม่มีอัตราโทษจำคุก และประเทศไทยมีทั้งความผิดอาญาแผ่นดินและความผิดอันยอมความได้ แต่ความผิดลหุโทษทุกมาตราเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ส่วนสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาไม่มีความผิดใดเลยเป็นความผิดอันยอมความได้ (3) จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบพบว่า ประเทศไทยควรยกเลิกอัตราโทษจำคุกสำหรับความผิดลหุโทษเช่นเดียวกับสาธารณรัฐฝรั่งเศสแล้วคงไว้แต่อัตราโทษปรับเท่านั้น และควรยกเลิกบทบัญญัติความผิดลหุโทษที่มีความซํ้าซ้อนกับความผิดอาญาตามกฎหมายเฉพาะ นอกจากนี้ ควรกำหนดให้ความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณาตามมาตรา 393 เป็นความผิดอันยอมความได้ (4) ผู้ศึกษาจึงขอเสนอให้ยกเลิกอัตราโทษจำคุกสำหรับความผิดลหุโทษทุกมาตรา ยกเลิกความผิดลหุโทษมาตรา 381, 382 และ 396 และแก้ไขเพิ่มเติมให้ความผิดลหุโทษมาตรา 393 ให้เป็นความผิดอันยอมความได้ จะส่งผลให้บทบัญญัติความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญาเกิดความเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ทันต่อยุคสมัย และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectความผิดลหุโทษth_TH
dc.subjectกฎหมายอาญาth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleปัญหาเกี่ยวกับความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญาth_TH
dc.title.alternativeProblems of petty offenses under the Criminal Codeen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study aims to (1) study the background, principles, concepts and theories of petty offenses under the Criminal Code; (2) study the criteria on petty offenses under the Criminal Code of Thailand, the French Republic and the United States of America; (3) conduct a comparative analysis of the problems of petty offenses under the Criminal Code of Thailand and petty offenses of the French Republic and the United States of America; and (4) recommend guideline amending the Criminal Code of Thailand in matters related to petty offenses for suitability, efficiency, modern and align with the intent of section 77 under the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560. This independent study is qualitative research. by studying and researching documents from books, textbooks, articles, judgments of the Supreme Court, legal provisions, legal journals, academic papers, newspapers, theses, independent studies, and information from the Internet both in Thai and English language. Moreover, bringing the information obtained from the document to gather and analyze for further recommendations. The research found that (1) petty offenses are the offense with a short period of imprisonment. Therefore, it is inconsistent with modern justice principles and rehabilitative theory. Some petty offenses are redundant with other offenses in specific laws, causing the problem of overcriminalization. Moreover, insult offense under section 393 is not determined as compoundable offenses despite it should be defined as compoundable offenses. (2) Petty offenses in Thailand and the United States of America have imprisonment, while the French Republic has no imprisonment. In addition, Thailand has both non-compoundable offenses and compoundable offenses but all of petty offenses are non-compoundable offenses, as the French Republic and the United States of America have no compoundable offense.(3) The comparative analysis found that Thailand should abolish imprisonment for petty offenses same as the French Republic and retain only a fine, and should revoke petty offenses which are redundant with other offenses in specific laws; furthermore, should determine insult offense under section 393 to be compoundable offenses. (4) Author recommend that Thailand should repeal imprisonment for all petty offenses, abrogate petty offenses under section 381, 382 and 396 and amend petty offenses under section 393 to be compoundable offenses. In order to make petty offenses under the Criminal Code have suitability, efficiency, modern and in accordance with the intent of section 77 under the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560.en_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons