Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13930
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณวิภา เมืองถ้ำth_TH
dc.contributor.authorกรณิศ ท้วมทองดี, 2535-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2025-04-02T07:03:45Z-
dc.date.available2025-04-02T07:03:45Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13930en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการและความเป็นมาเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม (2) ศึกษาบทบัญญัติแห่งกฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม (3) วิเคราะห์ปัญหาการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมตามมาตรา 126 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 และ (4) หาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล กับประโยชน์ส่วนรวม การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร จากตัวบทกฎหมาย ตำรา งานวิจัย บทความและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิด ทฤษฎี หลักการและความเป็นมาที่สำคัญ เช่น ทฤษฎี การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมและการใช้อำนาจรัฐในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพ (2) ประเทศไทย อังกฤษ แคนาดาและสหรัฐอเมริกา ต่างก็มีกฎหมายเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม (3) มาตรา 126 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มีปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ การไม่มีบทนิยามและมีปัญหาในการตีความถ้อยคำ การกำหนดบทสันนิษฐานที่ให้เจ้าพนักงานของรัฐต้องมีความผิดและรับโทษทางอาญาจากการกระทำของคู่สมรสทั้งที่ไม่ใช่การกระทำของเจ้าพนักงานของรัฐ ถ้อยคำตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่ง เจ้าพนักงานของรัฐที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามความในมาตรา 126 พ.ศ. 2563 ข้อ 4 ไม่ครอบคลุมไปถึงเจ้าพนักงานของรัฐที่รักษาราชการแทน รักษาการแทน รักษาการในตำแหน่ง และบทบัญญัติที่เป็นข้อห้ามข้อจำกัดเจ้าพนักงานของรัฐมิให้กระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ และ (4) ผู้เขียนจึงเสนอแนะแนวทางว่าควรแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2561 และประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งเจ้าพนักงานของรัฐที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามความในมาตรา 126 พ.ศ. 2563 ให้มีความชัดเจนและครอบคลุมมากยิ่งขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการขัดกันแห่งผลประโยชน์th_TH
dc.subjectพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชนth_TH
dc.titleการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม : ศึกษากรณีมาตรา 126 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561th_TH
dc.title.alternativeConflict of Interests : a case study of Section 126 of The Organic Act on Prevention and Suppression Corruption, B.E. 2561 (2018)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study aims to (1) study the concepts, theories, principles and background of conflict of Interests; (2) study the provisions of the laws of Thailand and foreign countries regarding conflict of interests; (3) analyze conflict of Interests of Section 126 of The Organic Act on Prevention and Suppression Corruption, B.E. 2561 (2018); and (4) suggest a corrective guide line to improve and amend the law on conflict of interests. The independent study on this title is qualitative research, whereas the documentary research was conducted from the articles of law, textbooks, researches, articles and other related documents. The finding revealed that (1) the concepts, theories, principles and important backgrounds such as conflict of interest theory and the exercise of state power to restrict rights and liberties; (2) Thailand, England, Canada and the United States have laws concerning the conflict of interests; (3) Section 126 of The Organic Act on Prevention and Suppression Corruption, B.E. 2561 (2018) has problems and obstacles, as follows: Lack of definitions and have problems in the misinterpretation of words. Determining the presumption that state officials must be guilty and punished for acts of spouses that are not the actions of state officials. the wording of the Notification of the National Anti-Corruption Commission on Prescribing the Positions of State Officials Prohibited from Conducting Business Under Section 126 B.E. 2563 (2020) Article 4 does not extend to State officials acting for, acting on their behalf, acting in their position and the provisions that prohibit state officials from acting in conflict of interests are not sufficiently comprehensive; (4) the researcher therefore suggests that The Organic Act on Prevention and Suppression Corruption, B.E. 2561 (2018) and the Notification of the National Anti-Corruption Commission on Prescribing the Positions of State Officials Prohibited from Conducting Business Under Section 126 B.E. 2563 (2020) should be amended to be clearer and more comprehensive.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.55 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons