กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13930
ชื่อเรื่อง: | การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม : ศึกษากรณีมาตรา 126 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Conflict of Interests : a case study of Section 126 of The Organic Act on Prevention and Suppression Corruption, B.E. 2561 (2018) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณวิภา เมืองถ้ำ กรณิศ ท้วมทองดี, 2535- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี การขัดกันแห่งผลประโยชน์ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการและความเป็นมาเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม (2) ศึกษาบทบัญญัติแห่งกฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม (3) วิเคราะห์ปัญหาการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมตามมาตรา 126 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 และ (4) หาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล กับประโยชน์ส่วนรวม การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร จากตัวบทกฎหมาย ตำรา งานวิจัย บทความและเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิด ทฤษฎี หลักการและความเป็นมาที่สำคัญ เช่น ทฤษฎี การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมและการใช้อำนาจรัฐในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพ (2) ประเทศไทย อังกฤษ แคนาดาและสหรัฐอเมริกา ต่างก็มีกฎหมายเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม (3) มาตรา 126 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มีปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ การไม่มีบทนิยามและมีปัญหาในการตีความถ้อยคำ การกำหนดบทสันนิษฐานที่ให้เจ้าพนักงานของรัฐต้องมีความผิดและรับโทษทางอาญาจากการกระทำของคู่สมรสทั้งที่ไม่ใช่การกระทำของเจ้าพนักงานของรัฐ ถ้อยคำตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่ง เจ้าพนักงานของรัฐที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามความในมาตรา 126 พ.ศ. 2563 ข้อ 4 ไม่ครอบคลุมไปถึงเจ้าพนักงานของรัฐที่รักษาราชการแทน รักษาการแทน รักษาการในตำแหน่ง และบทบัญญัติที่เป็นข้อห้ามข้อจำกัดเจ้าพนักงานของรัฐมิให้กระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวมยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ และ (4) ผู้เขียนจึงเสนอแนะแนวทางว่าควรแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม การทุจริต พ.ศ. 2561 และประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง กำหนดตำแหน่งเจ้าพนักงานของรัฐที่ต้องห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามความในมาตรา 126 พ.ศ. 2563 ให้มีความชัดเจนและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13930 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.55 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License