Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13933
Title: | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ |
Other Titles: | Legal Issues regarding the enforcement of compulsory motor insurance |
Authors: | ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล เกษียร ธำรงวราภรณ์, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี ประกันรถยนต์--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ--ไทย การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ |
Issue Date: | 2565 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความหมาย ความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (2) ศึกษาและเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (3) ศึกษาแนวทางการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (4) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ในส่วนมาตรการทางกฎหมาย และความคุ้มครองทรัพย์สินของผู้ประสบภัย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสารศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เป็นเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในรูปแบบของตำรากฎหมาย บทความคำพิพากษาศาลฎีกา ความเห็นของนักนิติศาสตร์ และวิทยานิพนธ์ ตลอดจนศึกษาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตในส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย ผู้เขียนจะทำการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์จากเนื้อหาที่ได้จากการศึกษาเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการจัดทำข้อเสนอแนะต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) การสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ประเทศไทยเบิกค่ารักษาพยาบาลผ่านระบบสินไหมอัตโนมัติ ตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งผู้ประสบภัยสามารถมอบอำนาจให้ทางโรงพยาบาลดำเนินการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลทำให้ผู้ประสบภัยไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล (2) การศึกษามาตรการทางกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น ประเทศแคนาดา และประเทศสิงคโปร์มีอัตราโทษสูงกว่าประเทศไทย โดยประเทศญี่ปุ่นและประเทศสิงคโปร์มีทั้งโทษจำคุกและปรับ ส่วนประเทศแคนาดามีเพียงโทษปรับเช่นเดียวกับประเทศไทย ส่วนในเรื่องความคุ้มครองความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยของประเทศญี่ปุ่นและประเทศสิงคโปร์มีความคล้ายคลึงกับประเทศไทยส่วนประเทศแคนาดาได้กำหนดให้มีความคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สิน (3) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีปัญหาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากข้อมูลทางสถิติมีรถที่ไม่ทำประกันภัยรถภาคบังคับจำนวนมาก การนำมาตรการทางกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นมาเป็นแนวทางในการแก้ไขกฎหมายย่อมมีส่วนควบคุมให้เจ้าของรถจัดทำประกันภัยรถภาคบังคับเพิ่มมากขึ้น และนำความคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินของประเทศแคนาดามาเป็นแนวทางในการแก้ไขกฎหมายย่อมก่อให้เกิดประโยชน์และความเป็นธรรมต่อผู้ประสบภัย (4) ข้อเสนอแนะจากการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ คือ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ในส่วนมาตรการทางกฎหมาย ตามมาตรา 37 และมาตรา 39 จากโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท เป็นโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และความคุ้มครองทรัพย์สินของผู้ประสบภัย ตามมาตรา 4 รวมทั้งกฎกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13933 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 37.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License