กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1450
ชื่อเรื่อง: การผลิตสินค้าเกษตรของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Agricultural merchandise production adhering to safety standardization by community enterprises in Nakhon Sawan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
อลิษา นาควิสุทธิ์, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
สินค้าเกษตร--มาตรฐาน--ไทย
สินค้าเกษตร--การควบคุมการผลิต
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน (2) การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน (3) ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยสินค้าเกษตรของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน (4) การผลิตสินค้าเกษตรตามมาตรฐานความปลอดภัยของวิสาหกิจชุมชน และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าวิสาหกิจชุมชนให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย ประชากรในการศึกษา คือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนทั้งหมดที่ผลิตสินค้าเกษตรในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 425 แห่ง การสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการตามสัดส่วนของวิสาหกิจชุมชนในแต่ละอำเภอ ได้จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนด้านการผลิตพืชส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น อายุเฉลี่ย 46.70 ปี รายรับจากวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 230,266.67 บาทต่อปี ด้านการผลิตปศุสัตว์ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อายุเฉลี่ย 47.85 ปี รายรับวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 146,133.33 บาทต่อปี ด้านการผลิตประมง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับประถมศึกษา อายุเฉลี่ย 51.70 ปี รายรับวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 123,000.00 บาทต่อปี และการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหาร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับปริญญาตรี อายุเฉลี่ย 51.35 ปี รายรับวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 225,986.67 บาทต่อปี (2) ในภาพรวม วิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่มีการดำเนินงานตามทิศทางของวิสาหกิจชุมชน ประกอบด้วย การวางแผนงาน การบริหารการตลาด การจัดการความรู้และข้อมูลข่าวสาร การบริหารสมาชิก และผลลัพธ์ของการดำเนินงาน (3) สมาชิกวิสาหกิจชุมชนมีความรู้ในระดับมากที่สุด ดังนี้ ด้านการผลิตพืช เรื่องการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การผลิตปศุสัตว์ เรื่องการดูแลสุขภาพสัตว์ในโรงเรือน การดูแลสวัสดิภาพของสัตว์ และการจัดการระบบน้ำ การผลิตประมง เรื่องการเลือกใช้ปัจจัยการผลิต การจับและขนส่งสัตว์น้ำที่ถูกต้อง และการบันทึกข้อมูลการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหาร เรื่องอุปกรณ์และวัตถุดิบที่ใช้ในการแปรรูปอาหาร และการบำรุงรักษาและการทำความสะอาดสถานที่ผลิตและเครื่องจักรอุปกรณ์ (4) การผลิตสินค้าวิสาหกิจชุมชนตามมาตรฐานความปลอดภัยที่วิสาหกิจชุมชนปฏิบัติเป็นประจำประกอบด้วยคุณภาพน้ำที่ใช้ในการผลิตพืช สถานที่ตั้งและแหล่งน้ำที่เหมาะสมในการผลิตปศุสัตว์ การขึ้นทะเบียนฟาร์มสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ และการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหาร มีสถานที่ตั้ง อุปกรณ์ และบริเวณโดยรอบที่เหมาะสม (5) การผลิตพืชมีปัญหาในระดับมากในเรื่องแรงงานและอุปกรณ์เครื่องจักรกลราคาแพง การแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารมีปัญหาในระดับมาก คือ อุปกรณ์และเครื่องจักรกลราคาแพง ส่วนการผลิตสัตว์และการประมงมีปัญหาในระดับปานกลางและน้อยทุกประเด็น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1450
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_160686.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons