กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1451
ชื่อเรื่อง: | การส่งเสริมการผลิตและการตลาดไก่พื้นเมืองของเกษตรกร อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension of native chickens production and marketing by farmers in Danchang District, Suphan Buri Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา มณฑิชา พุทซาคำ, อาจารย์ที่ปรึกษา อัจฉริยา ยวงเกตุ, 2533- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ ไก่ชน--การเลี้ยง--ไทย ก่ชน--การตลาด |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 46.74 ปี มีรายได้จากการผลิตไก่พื้นเมืองเฉลี่ย 27,722.16 บาท และมีรายจ่ายเฉลี่ย 18,598.29 บาท 2) ในด้านการผลิตพบว่า เกษตรกรผลิตไก่พื้นเมืองเฉลี่ย 110.34 ตัว มีการ ผลิตแบ่งตามช่วงอายุ ได้แก่ ผลิตรวมทุกอายุ ผลิตอายุ 0-6 สัปดาห์ ผลิตอายุ 7-16 สัปดาห์ ผลิตอายุ 17-25 สัปดาห์ และผลิตอายุ 26-72 สัปดาห์ โดยเกษตรกรไม่ผลิตตามคําแนะนําของกรมปศุสัตว์ในเรื่องการป้องกันโรคระบาด เห็นได้จากเกษตรกรจํานวนมากที่สุด ผลิตรวมทุกอายุ มีเกษตรกรเพียงร้อยละ 32.43 ทําวัคซีนนิวคาสเซิล หลอดลมอักเสบติดต่อ ร้อยละ 22.16 ทําวัคซีนอหิวาต์เป็ด-ไก่ และร้อยละ 19.46 ทําวัคซีนฝีดาษไก่ ในด้าน การตลาดพบว่า ราคาจําหน่ายลูกไก่เฉลี่ยตัวละ 23.50 บาทไก่รุ่นเฉลี่ยกิโลกรัมละ 112.50 บาท (ไก่มีชีวิตและไก่ สด) และไก่พ่อแม่พันธุ์มีราคาไม่แน่นอน เกษตรกรร้อยละ 63.24 จําหน่ายให้พ่อค้าในท้องถิ่น และไม่พบว่ามีการ ส ่ งเสริมการจําหน่ายไก่พื้นเมือง 3) เกษตรกรมีความรู้ในระดับปานกลาง โดยเกษตรกรมีความรู้มากในเรื่องการ เตรียมโรงเรือน และมีความรู้น้อยในเรื่องการป้องกันโรคระบาดเกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับไก่ พื้นเมืองจากเอกสารเผยแพร่ทางวิชาการมากกว่าสื่ออื่นๆ และมีความต้องการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อกิจกรรม 4) ในการส่งเสริม พบว่า ในด้านการผลิต เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับการส่งเสริมเรื่องการป้องกันโรคระบาด และยังมี ความต้องการการส่งเสริมในเรื่องดังกล่าว ด้านการตลาด เกษตรกรต้องการการส่งเสริมเรื่องช่องทางการจําหน่าย ในแบบต่างๆ เพื่อรองรับผลผลิต 5) เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องวัสดุรองพื้นและอาหารสําเร็จรูปมีราคาแพง ไม่มีอํานาจต่อรองราคากับพ่อค้า และไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานราชการ ซึ่งเกษตรกรมีข้อเสนอแนะว่า ควรจัดอบรมเพิ่มความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ครอบคลุมทั้งการผลิตและการตลาดไก่พื้นเมือง และ ข้อกําหนดในเรื่องการรับรองมาตรฐานสินค้า |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1451 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_159587.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.83 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License