กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1511
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการวัคซีนพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรค อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors relating to receiving post exposure rabies vaccine among vaccine users in Kantharom District, Si Sa Ket Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อารยา ประเสริฐชัย สุขุมาล กาฬเนตร, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรางคณา จันทร์คง |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกบริหารสาธารณสุข --วิทยานิพนธ์ วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า--ไทย--ศรีสะเกษ โรคพิษสุนัขบ้า--ไทย--ศรีสะเกษ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การมารับบริการ วัคซีนพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรค (2) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อและปัจจัยสนับสนุน ของ ผู้มารับบริการวัคซีนพิษสุนัขบ้า และ (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับบริการวัคซีนพิษสุนัขบ้า หลังสัมผัสโรค อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ประชากรเป็นผู้มารับวัคซีนหลังสัมผัสโรค จากข้อมูลปี 2560 จำนวน 2,578 คน คำนวณขนาดตัวอย่าง กรณีทราบสัดส่วนประชากร ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 335 คน สุ่มตัวอย่างโดยเลือกแบบกำหนดโควต้า เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงเฉลี่ยเท่ากับ 0.75 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย และไคสแควร์ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้มารับบริการวัคซีนพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรค ส่วนใหญ่เป็น การรับวัคซีนครั้งแรกร้อยละ 70.7 รับวัคซีนครบตามกำหนดนัดร้อยละ 82 (2) ผู้มารับบริการเป็น เพศหญิงร้อยละ 50.4 อายุเฉลี่ย 44.46 ปี สถานภาพสมรสร้อยละ 54.3 สำเร็จการศึกษาชั้น มัธยมศึกษาร้อยละ 35.2 อาชีพเกษตรกรร้อยละ 32.8 สิทธิการรักษาบัตรทอง 30 บาทร้อยละ 79.1 ระยะทางเฉลี่ยจากบ้านถึงโรงพยาบาล 11.12 กิโลเมตร ใช้รถมอเตอร์ไซด์ร้อยละ 48.0 สัตว์ที่สัมผัส มากที่สุดคือสุนัขร้อยละ 77.6 ไม่ทราบประวัติการรับวัคซีนของสัตว์ร้อยละ 73.4 การสัมผัสโรคพิษ สุนัขบ้าขององค์การอนามัยโลกระดับ 3 มารับบริการมากที่สุดร้อยละ 62.4 ปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ มีคะแนนอยู่ระดับปานกลาง ปัจจัยเอื้อมีคะแนนระดับสูง และปัจจัยสนับสนุน มีคะแนนระดับปานกลาง (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมารับวัคซีนครบตามกำหนดอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยนำด้านความรู้เกี่ยวกับโรคและวัคซีนพิษสุนัขบ้า การวิจัยในครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะให้ดำเนินการส่งเสริมความรู้แก่ประชาชน โดยเน้นเรื่องชนิดของสัตว์ที่สามารถนำ เชื้อพิษสุนัขบ้ามาสู่คน ความจำเป็นในการกักขังดูอาการสัตว์หลังจากโดนข่วนหรือกัด ส่งเสริมการ ล้างแผลที่ถูกต้องซึ่งจะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1511 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_159383.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.07 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License