Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1528
Title: | บทบาทของพระสงฆ์กับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในพื้นที่ประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และไทย |
Other Titles: | Role of Sangha's in the promotion of political culture in Cambodia, Laos, Myanmar, and Thailand |
Authors: | ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ พระครูปลัดเกษฎา ผาทอง, 2535- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา บุญทัน ดอกไธสง อิสระ สุวรรณบล |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ พุทธศาสนากับการเมือง สงฆ์ -- กิจกรรมทางการเมือง |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทของพระสงฆ์กับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในพื้นที่ประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และไทย (2) วิเคราะห์เปรียบเทียบบทบาท ของพระสงฆ์กับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในพื้นที่ประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และไทย (3) วิเคราะห์แนวโน้มบทบาทพระสงฆ์กับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองเชิงสร้างสรรค์ในสังคมไทย การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 21 คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท แล้วนำเสนอเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทของพระสงฆ์กับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองมีลักษณะ ที่แตกต่างกันตามบริบทเชิงพื้นที่ของแต่ละประเทศใน 3 มิติ ได้แก่ บริบทเชิงประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมืองการปกครองและสังคมวัฒนธรรม พระพุทธศาสนากับการเมือง และการแสดงออกทางการเมืองในการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง (2) การเปรียบเทียบบทบาทของพระสงฆ์กับการเสริมสร้าง วัฒนธรรมทางการเมืองแต่ละประเทศ จำแนกได้ 6 ลักษณะ ได้แก่ แนวคิดพื้นฐาน ตัวบทกฎหมายที่ใช้ในการปกครอง รูปแบบทางการเมืองของพระสงฆ์ ปรากฏการณ์รูปธรรมทางการเมือง ผลกระทบทางการเมือง ของพระสงฆ์ และรูปแบบการแสดงออกบทบาทพระสงฆ์ (3) บทบาทพระสงฆ์กับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองเชิงสร้างสรรค์ในสังคมไทยซึ่งเป็นการเมืองแบบอุดมปัญญาบนหลักเหตุผลนิยม อธิบายได้ด้วยฐานคติ 4 ลักษณะ ได้แก่ บทบาททางการเมืองตามประวัติศาสตร์ประกอบด้วย ตามพระไตรปิฎก ตามพระธรรมวินัย ตามประวัติศาสตร์ ประเพณี และตามกฎหมาย ประเด็นการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง ประกอบด้วย พฤติกรรมทางสังคม ความรับผิดชอบต่อสังคม และ การมีส่วนร่วมทางการเมือง และ แนวโน้มการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ด้านสิ่งที่เป็นอยูทางสังคม ด้านความคาดหวังของสังคม และ ด้านบทบาทเชิงสร้างสรรค์ และแนวโน้มบทบาทพระสงฆ์กับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองเชิงสร้างสรรค์ที่เหมาะสมสำหรับบริบทสังคมไทย โดยเรียงลำดับจากมาก ไปหาน้อย ได้แก่ การเป็นผู้สังเกตการณ์ทางการเมือง ความเป็นหุ้นส่วนทางการเมือง และส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ร.ด.(รัฐศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1528 |
Appears in Collections: | Pol-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib162542.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License