กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1542
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และการรับรู้ระยะไกลเพื่อประเมินพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าในป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ้ฟ้า จังหวัดลำปาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Application of geographic information system and remote sensing for fire risk area assessment in Mae Chae Fa National Reserved Forest, Lampang Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชัยวัฒน์ คงสม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดุสิต เวชกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภัทรา ม่วงเพชร, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ้ฟ้า--ไทย--ลำปาง
ไฟป่า--การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์--การวิเคราะห์ข้อมูลระยะไกล
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ไฟป่าที่เกิดขึ้นระหว่าง ปี พ.ศ. 2556 - 2559 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดไฟป่าในระดับต่างๆ 3) ประเมินหาพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการเกิดไฟป่าในป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ้ฟ้า จังหวัดลาปางผลการศึกษาพบว่า 1) สถานการณ์ไฟป่าระหว่างปีพ.ศ. 2556 - 2559 เกิดไฟป่าครอบคลุมพื้นที่ ร้อยละ 19.84, 14.29, 21.69, และ 29.62 ของพื้นที่ทั้งหมดตามลาดับ พื้นที่ที่เกิดไฟป่าซ้า 4, 3, 2, และ1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 1.51, 7.88, 8.16, และ 22.65 ของพื้นที่ทั้งหมดตามลาดับ และมีพื้นที่ที่ไม่เคยเกิดไฟป่าเลย ร้อยละ 59.81ของพื้นที่ทั้งหมด 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดไฟในระดับสูง คือ ระยะห่างจากหมู่บ้าน ความหนาแน่นของประชากร ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดไฟป่าในระดับปานกลาง คือ ดัชนีพืชพรรณ (NDVI) ปริมาณเชื้อเพลิง และความลาดชัน และปัจจัยที่อิทธิพลต่อการเกิดไฟป่าในระดับต่า คือ ระยะห่างจากเส้นทางคมนาคม ระยะห่างจากพื้นที่เกษตรกรรม และ ระยะห่างจากแม่น้า 3) สามารถแบ่งระดับความเสี่ยงของการเกิดไฟป่าในพื้นที่ศึกษาออกเป็น 3 ระดับคือ พื้นที่ที่มีระดับความเสี่ยงในการเกิดไฟป่าสูงมีพื้นที่ร้อยละ 30.51 อยู่ด้านตะวันตกส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สวนป่าสัก พื้นที่มีระดับความเสี่ยงในการเกิดไฟป่าปานกลางร้อยละ 52.00 อยู่ในบริเวณตอนกลางประกอบด้วยพื้นที่ป่าเบญจพรรณและพื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่ที่มีระดับความเสี่ยงในการเกิดไฟต่าร้อยละ 17.49 อยู่ในพื้นที่ด้านตะวันออกส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าดิบแล้งและทุ่งหญ้า
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1542
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
156049.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons