Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1561
Title: การปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดสตูล
Other Titles: Operation role of agricultural village volunteers in Satun Province
Authors: พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศุมาลิน ขวัญแก้ว, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน--การทำงาน
อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน--ไทย--สตูล
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล ข้อมูลทางเศรษฐกิจ ข้อมูลทางสังคมของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดสตูล 2. ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดสตูล 3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ในจังหวัดสตูล 4. ปัญหาและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ในจังหวัดสตูล ผลการวิจัย พบว่า 1) อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดสตูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 50.44 ปี ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6)/ปวช. ประกอบอาชีพทานาเป็นอาชีพหลัก มีจานวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.79 คน มีรายได้จากการประกอบอาชีพในภาคการเกษตรเฉลี่ย 133,741.21 บาท/ปี มีพื้นที่ทาการเกษตรของตัวเองเฉลี่ย 13.84 ไร่ พื้นที่ทาการเกษตรที่ดินเช่าเฉลี่ย 6.63 ไร่ มีสถานภาพการเป็นผู้นาในชุมชน มากกว่า 1 อย่าง ระยะเวลาการในการปฏิบัติงานอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน เฉลี่ย 5.33 ปี เข้ามาปฏิบัติงานอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านเพราะต้องการโอกาสได้รับการอบรมดูงาน มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เฉลี่ย 18.21 ครั้ง/ต่อปี แหล่งที่มาจากการรับรู้ข่าวสารด้านการเกษตรส่วนใหญ่มาจากบุคคล ซึ่งอยู่ในระดับมาก เฉลี่ย 3.54 ได้รับการสนับสนุนในการปฏิบัติงาน จากการสนับสนุนช่วยเหลือในการประสานงานจากหน่วยงานภาครัฐ ในระดับมาก เฉลี่ย 3.59 2) อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดสตูลมีความรู้เกี่ยวกับบทบาทของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน ในระดับมาก 3) อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดสตูล มีความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก ทั้ง 7 บทบาท ได้แก่ 1. การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรของหมู่บ้าน 2. การจัดทาแผนพัฒนาการเกษตรร่วมกับกรรมการหมู่บ้าน 3. การประสานงาน 4. การถ่ายทอดความรู้ 5. การแก้ไขปัญหาของเกษตรกรในหมู่บ้าน 6. การติดตามสถานการณ์การเกษตรในหมู่บ้าน 7. การรายงานเหตุการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 4) ปัญหาในการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านในจังหวัดสตูล พบว่ามีปัญหาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ 1. ปัญหาด้านการประสานงานและให้คาแนะนาจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 2. การได้รับความรู้ และข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตร ส่วนข้อเสนอแนะในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ 1. การสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน ที่มีความจาเป็นต่อการปฏิบัติงาน และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน ตามบทบาทที่เหมาะสม 2. ควรมีการยกย่องเชิดชูอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น เพื่อให้มีความภาคภูมิใจในการปฏิบัติงาน
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1561
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
158743.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.95 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons