Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1564
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสำอาง สืบสมาน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorศิวาพร แดงโชติ, 2522--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-09-16T03:01:23Z-
dc.date.available2022-09-16T03:01:23Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1564-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้ของผู้บริโภคเกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการของข้าว 2) เจตคติของผู้บริโภคต่อการบริโภคข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการ และ 3) พฤติกรรมการบริโภคข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือกลุ่มคนในวัยต่าง ๆ ที่อาศัย เรียน หรือทำงานอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นกลุ่มวัยเรียน (ช่วงอายุ 18-21 ปี ) กลุ่มวัยทำงาน (ช่วงอายุ 22-59 ปี ) และกลุ่มวัยสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป) ขนาดกลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 120 คน รวม 360 คน การคัดเลือกตัวอย่างแบบสุ่มหลายขั้นตอนจากพื้นที่เขตบางรัก เขตปทุมวัน เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง เขตบางกอกน้อย เขตหนองแขม และเขตบางขุนเทียน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ 0.783 สถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มวัยสูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการของข้าวมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนคำตอบสูงที่สุด 1.58 รองลงมาคือกลุ่มวัยทำงานมีค่าเฉลี่ย 1.55 และกลุ่มวัยเรียนมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 1.54 2) กลุ่มวัยสูงอายุมีค่าเฉลี่ยเจตคติต่อการบริโภคข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุด 4.26 รองลงมาคือกลุ่มวัยทำงานมีค่าเฉลี่ย 4.04 และกลุ่มวัยเรียนมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 3.92 3) พฤติกรรมการบริโภคข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงของกลุ่มวัยสูงอายุแตกต่างจากกลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ใน 3 เรื่องได้แก่ การคำนึงถึงสุขภาพ คุณประโยชน์ของข้าวกล้อง/ข้าวเพื่อสุขภาพ และสมาชิกในครัวเรือนต้องการบริโภค ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงของทั้ง 3 กลุ่มวัย ได้แก่ ความอร่อย ราคา และคุณภาพ แนวทางที่จะทำให้บริโภคข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การให้ความรู้ด้านคุณประโยชน์ ราคาและความอร่อยควรใกล้เคียงกับข้าวขาวทั่วไป ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้ ภาครัฐและเอกชนควรส่งเสริมและสนับสนุน การเพาะปลูก การจำหน่ายและการให้ความรู้ข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงให้กับผู้บริโภคth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯth_TH
dc.titleการบริโภคข้าวที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงของแต่ละกลุ่มวัย : กรณีศึกษาผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeHigh nutritional value rice consumption by different age consumers in Bangkok Metropolisth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Hum-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_161730.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.14 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons