Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1565
Title: | การจัดการฟาร์มโคนมในระบบการเลี้ยงทั่วไปและระบบการเลี้ยงตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ในอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี |
Other Titles: | Dairy farm management in conventional farming systems and organic livestock standard farming systems, Muak Lek District, Saraburi Province |
Authors: | จิตติมา กันตนามัลลกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา อัจฉรา โพธิ์ดี, อาจารย์ที่ปรึกษา จีรวัฒน์ แพงแสน, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์ ฟาร์มโคนม--การจัดการ ฟาร์มโคนม--มาตรฐาน โคนม--การเลี้ยง--มาตรฐาน ฟาร์มโคนม--ไทย--สระบุรี |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในระบบการเลี้ยงทั่วไปและระบบการเลี้ยงตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ 2) การจัดการการเลี้ยงโคนมในระบบการเลี้ยงทั่วไปและระบบการเลี้ยงตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ 3) การจัดการฟาร์มโคนมตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของการจัดการฟาร์มโคนมในระบบการเลี้ยงทั่วไปและระบบการเลี้ยงตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในระบบการเลี้ยงทั่วไปส่วนใหญ่มีอายุ 31-50 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด และประสบการณ์การเลี้ยงเฉลี่ย 11.7 ปี ส่วนเกษตกรผู้เลี้ยงโคนมในระบบการเลี้ยงตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ส่วนใหญ่มีอายุ 41-50 ปี จบการศึกษาระดับอนุปริญญามากที่สุด ประสบการณ์การเลี้ยงเฉลี่ย 11.6 ปี 2) การจัดการการเลี้ยงโคนมของเกษตรกรในระบบการเลี้ยงทั่วไปและระบบการเลี้ยงตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ มีความคล้ายคลึงกัน ยกเว้นขนาดพื้นที่ฟาร์ม โดยเกษตรกรในระบบการเลี้ยงทั่วไปมีพื้นที่ฟาร์มเฉลี่ย 2.64 ไร่ (1 ไร่ เท่ากับ 1,600 m2) และเกษตรกรในระบบการเลี้ยงตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ มีพื้นที่ฟาร์มเฉลี่ย 11 ไร่ 3) การจัดการฟาร์มโคนมตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ พบว่า การจัดการด้านแหล่งที่มาของสัตว์และการจัดการฟาร์มมีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด และ 4) ปัญหาการจัดการฟาร์มโคนมของเกษตรกรในระบบการเลี้ยงทั่วไป ได้แก่ อาหารสัตว์ พันธุ์สัตว์ สุขภาพสัตว์ การบริหารจัดการ และราคาน้านมดิบ ข้อเสนอแนะ ได้แก่ การลดต้นทุนค่าอาหาร การตรวจสุขภาพสัตว์อย่างสม่าเสมอ และการสร้างโรงเรือนแยกสัตว์ป่วย ส่วนเกษตรกรในระบบการเลี้ยงตามมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ พบปัญหาการจัดหาอาหารสัตว์จากระบบเกษตรอินทรีย์ ข้อเสนอแนะ คือ การเก็บพืชอาหารสัตว์ให้เพียงพอในฤดูแล้ง และการรวมกลุ่มซื้ออาหารสัตว์ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1565 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
158751.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License