Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1580
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อการค้างชำระหนี้เงินกู้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรกระบุรี จำกัด จังหวัดระนอง |
Other Titles: | Factors affecting members' unpaid loan of Kraburi Agricultural Co-operatives Ltd. in Ranong Province |
Authors: | อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ, อาจารย์ที่ปรึกษา เชาว์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา รัชดาภรณ์ บุญวงศ์, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรกระบุรี จำกัด จังหวัดระนอง การชำระหนี้--ไทย--ระนอง |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกสหกรณ์ 2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและปัจจัยด้านสังคมของสมาชิกสหกรณ์ 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมของสมาชิกสหกรณ์และปัจจัยด้านสหกรณ์ที่มีผลต่อการค้างชาระหนี้เงินของสหกรณ์ และ 4) ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการค้างชาระหนี้เงินกู้ และความต้องการของสมาชิกสหกรณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุอยู่ในระหว่าง 25 - 40 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือ ปีที่ 6 หรือ ปวช. ระยะเวลาการเป็นสมาชิกส่วนใหญ่ 5 – 10 ปี ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการค้างชาระหนี้เงินกู้ของสมาชิกสหกรณ์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุของสมาชิกและระยะเวลาการเป็นสมาชิก 2) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สมาชิกส่วนใหญ่กู้เงินประเภทเงินกู้ระยะปานกลาง รายได้จากการประกอบอาชีพ 60,000 – 120,000 บาทต่อปี ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 30,000 – 60,000 บาทต่อปี ปัจจัยด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อการค้างชาระหนี้เงินกู้ของสมาชิกสหกรณ์อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ประเภทเงินกู้ รายได้จากการประกอบอาชีพ ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และครอบครัวของสมาชิกมีหนี้กับสถาบันอื่น และปัจจัยด้านสังคมของสมาชิก ส่วนใหญ่มีสมาชิกในครอบครัว 2-3 คน และ 4-5 คนและส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลของสมาชิกในกลุ่มเดียวกันและผู้นาที่มีผลการชาระหนี้ 3) ปัจจัยด้านการบริหารงานของสหกรณ์ คือกระบวนการติดตามหนี้ของสหกรณ์ การจัดชั้นลูกหนี้ของสหกรณ์ และอัตราดอกเบี้ยของสหกรณ์ มีระดับความสาคัญต่อการค้างชาระหนี้เงินกู้ในระดับมากทุกปัจจัย และมีผลต่อการค้างชาระหนี้เงินกู้ของสมาชิกอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทุกปัจจัย และ 4) ปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการค้างชาระหนี้เงินกู้ ได้แก่ ประสบอุทกภัยทาให้ผลผลิตเสียหายรายได้ไม่แน่นอน และราคาผลผลิตตกต่า ทั้งสมาชิกมีความต้องการให้สหกรณ์ลดอัตราเงินกู้ และขยายเวลาการชาระเงินกู้ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (สหกรณ์))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1580 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
158839.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License