กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1582
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการผลิตทุเรียนของเกษตรกรในอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines for Durian production by farmers in Tha Sae District, Chumphon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
วนิดา เหรียญทอง, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ทุเรียน--การปลูก
ทุเรียน--การผลิต
การส่งเสริมการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตทุเรียน (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตทุเรียน และ (4) แนวทางการส่งเสริมการผลิตทุเรียนในอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพรผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 48.02 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 2.96 คน มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 1.84 คน แรงงานจ้างเฉลี่ย 1.63 คน มีพื้นที่ปลูกทุเรียนเฉลี่ย 8.47 ไร่ เกษตรกรมีรายได้จากทุเรียนเฉลี่ย 45,880.68 บาทต่อไร่ รายจ่ายในการผลิตทุเรียนเฉลี่ย 16,613.28 บาทต่อไร่ มีประสบการณ์ในการปลูกทุเรียนเฉลี่ย 9.81 ปี การรับรู้ข้อมูลข่าวสารในการผลิตภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นที่ลาดชัน ปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ใช้ระบบนํ้าแบบโปรยนํ้า เก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม ใช้การนับอายุ และดูสีผล (3) เกษตรกรมีปัญหาด้านการตลาด ข้อเสนอแนะของเกษตรกรให้หาตลาดส่งออกทุเรียนนอกจากประเทศจีน และ (4) เกษตรกรมีความต้องการช่องทางในการส่งเสริมจากสื่อบุคคล สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ต้องการวิธีการส่งเสริมแบบทัศนศึกษา บรรยาย สาธิต และฝึกปฏิบัติ ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการผลิตทุเรียนของเกษตรกร ได้แก่ (1) ให้ความรู้เกษตรกรในการผลิตทุเรียน เช่น การให้นํ้า ให้ปุ๋ย การป้องกันกำจัดโรคและแมลง การเก็บเกี่ยวผลผลิต (2) ส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนมาใช้สารชีวภัณฑ์แทนการใช้สารเคมีเพียงอย่างเดียว และ (3) ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกทุเรียนร่วมกับพืชอื่นเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ และราคาผลผลิต ผ่านทางสื่อบุคคลที่เป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรภาครัฐ และเอกชน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1582
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159123.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons