กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1596
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารเพื่อการส่งต่อข้อมูลทางการพยาบาลโดยใช้บทเรียนออนไลน์สำหรับนักศึกษาพยาบาล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of communication competency in nursing handoff by online lessons for nursing students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทรงศรี สรณสถาพร, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุไรรัตน์ ดวงจันทร์, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การสื่อสารทางการแพทย์--ไทย
การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารเพื่อการส่งต่อข้อมูลทางการพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล 2) สร้างบทเรียนออนไลน์พัฒนาสมรรถนะการลื่อสารเพื่อการส่งต่อข้อมูลทางการพยาบาล และ 3) ศึกษาผลของบทเรียนออนไลน์ต่อสมรรถนะการสื่อสารเพื่อการส่งต่อข้อมูลทางการพยาบาล วิธีดำเนินการวิจัย มี 3 ระยะ ได้แก่ (1) ศึกษาสภาพการณ์และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารเพื่อการส่งต่อข้อมูลทางการพยาบาล ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นตัวแทนอาจารย์พยาบาล 7 คน และนักศึกษาพยาบาล 8 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (2) สร้างบทเรียนออนไลน์พัฒนาสมรรถนะการสื่อสารเพื่อการส่งต่อข้อมูลทางการพยาบาลด้วยเทคนิคไอเอสบาร์และตรวจสอบคุณภาพของบทเรียนโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และ (3) ศึกษาผลของการนำบทเรียนออนไลน์ฯ โดยการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลจำนวน 24 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามสมรรถนะ การสื่อสารเพื่อการส่งต่อข้อมูลทางการพยาบาลและบทเรียนออนไลน์ฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กัน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการณ์และแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารเพื่อส่งต่อข้อมูลทางการพยาบาลที่ผ่านมาและสำคัญดังนี้มีการใช้รูปแบบและเทคนิคหลากหลาย นักศึกษาขาดการเชื่อมโยงความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง และต้องการบทเรียนออนไลน์เพื่อเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากสถานการณ์จำลอง 2) บทเรียนออนไลน์ฯ ประกอบด้วยกระบวนการเรียนการสอน 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมผู้เรียน ขั้นเรียนรู้และสะท้อนคิด และขั้นการประเมินผล และ 3) ผลของบทเรียนออนไลน์ต่อสมรรถนะการลื่อสารเพื่อการส่งต่อข้อมูลทางการพยาบาลพบว่า หลังเรียนบทเรียนออนไลน์สมรรถนะการลื่อสารฯ สูงกว่าก่อน การเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 9.39, P < .05) ผลการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของการสื่อสารกับทีมการพยาบาล มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น เรียนรู้ได้ด้วยตนเองและมีความมั่นใจมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การนำบทเรียนออนไลน์ฯ ไปใช้ควรสร้างสถานการณ์จำลองที่เหมาะสมและสอดคล้องกับรายวิชาหรือบริบทที่นำไปใช้ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารเพื่อการส่งต่อข้อมูลทางการพยาบาลได้เหมาะสมและตรงกับความต้องการ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1596
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_159453.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons