Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1602
Title: วาทกรรมการเมืองในวิกฤตการณ์ชุมนุมของคณะกรรมการเพื่อเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ช่วงปี ค.ศ.2013-2014
Other Titles: Political Discourse in protest crisis of people democratic refoum commttee (PDRC) between 2013 to 2014
Authors: สุภาภรณ์ ศรีดี
ประกอบเกียรติ อิ่มศิริ, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วรวลัญช์ โรจนพล
มานะ ตรีรยาภิวัฒน์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
วาทวิทยา--แง่การเมือง
วาทศิลป์ทางการเมือง
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การสร้างวาทกรรมการเมือง การใช้ความรู้ และอำนาจในฐานะ เป็นเครื่องมือเคลื่อนไหวทางการเมือง 2) อิทธิพลของวาทกรรมการเมือง การใช้ความรู้ และอำนาจ ที่ส่งผลต่อการเมือง จากการเคลื่อนไหวทางการเมืองในวิกฤตการณ์ชุมนุมของกลุ่ม กปปส. ในช่วงปี ค.ศ. 2013 – 2014 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิทยาการวิจัยแบบหลังสมัยใหม่ด้วยการวิเคราะห์วาทกรรม แบบวงศาวิทยาของมิเชล ฟูโกต์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและสื่อ ได้แก่ เอกสารสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อใหม่ ตัวบทวาท กรรมคำพูดจากวีดิทัศน์บันทึกการปราศรัยของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ช่วงวิกฤตการณ์ชุมนุมของกลุ่ม กปปส. ตั้งแต่ วันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2013 ถึง วันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 จำนวน 204 ตัวบท โดยการเลือกแบบเจาะจง และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักระดับแกนนำหลัก กปปส. 1 ใน 9 แกนนำ คือ นายวิทยา แกวภราดัย ในฐานะตัวแทนจากกลุ่มแกนนำให้เป็นตัวแทนผู้ให้ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแบบวงศาวิทยาซึ่ง เป็นวิธีที่สืบเนื่องจากโบราณคดีวิทยาของความรู้ มีลักษณะการวิเคราะห์ด้วยการรื้อสร้าง ปฏิบัติการความหมาย ปฏิบัติการสังคม สิ่งที่ถูกปิดก้น เส้นทางที่มาที่ไปของความหมาย สังเคราะห์ด้วยการแสดงความสัมพันธ์ของวาทกรรมการเมือง การใช้ความรู้ และอำนาจ ผลการวิจัยการสร้างวาทกรรมการเมือง การใช้ความรู้ และอำนาจ ในฐานะเป็นเครื่องมือเคลื่อนไหว ทางการเมืองในวิกฤตการณ์ชุมนุมของกลุ่ม กปปส. พบว่า 1) การเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่ม กปปส. มีกรอบ ความรู้คือ วาทกรรมประชาธิปไตยในการเคลื่อนไหวไม่หยุด ขณะเดียวกันได้เสนอวาทกรรมใหม่ ๆ ขึ้น เพื่อที่จะให้ เหตุผลในการเคลื่อนไหว ทั้งสิ้น 11 วาทกรรม ได้แก่ วาทกรรม “ประชาธิปไตย” วาทกรรม “สภาโจร สภาทาส ออก กฎหมายช่วยโจร” วาทกรรม “สงบ สันติ อหิงสา ปราศจากอาวุธ สู้อย่างพลเมืองดีมีอารยะ” วาทกรรม “โค่นระบอบ ทักษิณทุนนิยมสามานย์ทุจริตคอรัปชั่น” วาทกรรม “ลุงกานัน” วาทกรรม “สภาประชาชน” วาทกรรม “อำนาจอธิปไตย เป็นของปวงชน” วาทกรรม “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง แก้กฎหมายให้เลือกตั้ง บริสุทธิ์ ยุติธรรม” วาทกรรม “ปฏิวัติ ประชาชน” วาทกรรม “รัฎฐาธิปัตย์” และวาทกรรม “คนดี ปกครองโดยธรรม” 2) อิทธิพลของวาทกรรมการเมือง ส่งผลกระทบทางการเมืองใน 3 มิติ (1) ทิศทาง ความจริงทางการเมืองไทย จากวาทกรรม “โค่นระบอบทักษิณ” “สภาประชาชน” “ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” “ปฏิวัติประชาชน” “รัฎฐาธิปัตย์” สร้างและนำพาความจริงทางการเมืองไทย ไปสู่จุดที่ไม่สอดคล้องกับหลักการกระบวนการ ไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย แต่เป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นประชาธิปไตย (2) การให้เหตุผลการชุมนุม เสนอปัญหา เพื่อดำรงความชอบธรรม สร้างแนวร่วมขยายฐานมวลชน (3) นิยาม ความหมายของประชาธิปไตยให้เคลื่อนด้วยข้อเสนอของกลุ่ม กปปส. จากวาทกรรม “คนดีปกครองโดยธรรม”
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1602
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib162513.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.91 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons