Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1607
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสุภาภรณ์ ศรีดี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวิศิษฎ์ เกตุรัตนกุล, 2504--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-09-19T07:45:02Z-
dc.date.available2022-09-19T07:45:02Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1607-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.(นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กลยุทธ์การแพร่ภาพสดผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ ขายสินค้าแฟชั่น 2) พฤติกรรมการเปิดรับชมการแพร่ภาพสดผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ ขายสินค้าแฟชั่น 3) ความพึงพอใจต่อปัจจัยการสื่อสารเกี่ยวกับการแพร่ภาพสดผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ ขายสินค้าแฟชั่น 4) การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคที่รับชมการแพร่ภาพสดผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์และทัศนคติต่อการตัดสินใจซื้อ 5) ความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรกับการตัดสินใจซื้อผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ 6) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการการเปิดรับชมการแพร่ภาพสดผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ ขายสินค้าแฟชั่นกับการตัดสินใจซื้อ 7) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการสื่อสารเกี่ยวกับการแพร่ภาพสดผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ ขายสินค้าแฟชั่นกับการตัดสินใจซื้อและทัศนคติต่อการตัดสินใจซื้อและ 8) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้ใกล้ชิดกับผู้บริโภคกับการตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้แพร่ภาพสดผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ ขายสินค้าแฟชั่นที่มีผู้ติดตามตั้งแต่ 9,000 คนขึ้นไป จำนวน 4 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์การวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคที่ชมการแพร่ภาพสดขายสินค้าแฟชั่น จำนวน 418 คน ได้มาจากสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไคร์สแควร์ และ สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้แพร่ภาพสดใช้กลยุทธ์ 4 ด้านคือ (1) การสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ผู้ชมเพื่อ ติดตามชม (2) การสร้างความเชื่อถือของผู้แพร่ภาพสดและช่องทางแพร่ภาพสด (3) การสื่อสารโน้มน้าวใจผ่าน ส่วนผสมทางการตลาด 4Psและ (4) การบริการหลังการขายที่ดี 2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เปิดรับชมการแพร่ภาพ สดที่บ้านผ่านสมาร์ทโฟน ชมสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ในช่วงเวลา 20.01-23.00 น. ชมเมื่อมีเวลาว่าง มีส่วนร่วมโดย การกดไลก์ กดติดตาม และกดแชร์ ส่วนใหญ่สนใจเสื้อผ้า รองลงมาคือกระเป่าถือสตรี 3) กลุ่มตัวอย่างมีความพึง พอใจต่อข้อมูลส่วนผสมการตลาดที่ได้รับรู้ในระดับมาก มีความพึงพอใจต่อผู้แพร่ภาพสดในระดับมาก และมีความพึงพอใจต่อเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านเฟซบุ๊ก ไลฟ์ในระดับมาก 4) กลุ่มตัวอย่างที่ตัดสินใจซื้อ คิดเป็นร้อย ละ 32.3 ตัดสินใจยังไม่ซื้อ คิดเป็นร้อยละ 61 และตัดสินใจไม่ซื้อมีเพียง ร้อยละ 6.7 และทัศนคติต่อการตัดสินใจ ซื้อมีระดับ มาก 5) เพศและอายุที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้อแตกต่างกัน 6) พฤติกรรมการเปิดรับชมการแพร่ภาพสดผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่น 7) ปัจจัยการสื่อสารเกี่ยวกับการแพร่ภาพสดผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ 3 ด้านได้แก่ (1) ความพึงพอใจต่อข้อมูลส่วนผสมทางการตลาด 4Ps ที่ได้รับรู้ (2) ความพึงพอใจต่อผู้แพร่ภาพสด (3) ความพึงพอใจต่อเทคโนโลยีการสื่อสาร มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อสินค้า แฟชั่น ทั้งสามด้าน ปัจจัยการสื่อสารทั้งสามด้านดังกล่าว ยังมีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อการตัดสินใจซื้อ และ 8) บทบาทของผู้ใกล้ชิดกับผู้บริโภคไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อสินค้าแฟชั่นผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2017.53en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการขาย -- เทคโนโลยีth_TH
dc.subjectโฆษณาทางอินเทอร์เน็ตth_TH
dc.subjectสื่อสังคมออนไลน์th_TH
dc.titleกลยุทธ์การแพร่ภาพสดผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ขายสินค้าแฟชั่นกับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคth_TH
dc.title.alternativeFacebook Live strategies and consumers' decisions in buying fashion productsth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2017.53en_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.nameปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิเทศศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) strategies used to sell fashion products with live streaming via Facebook Live; 2) Facebook Live fashion products watching behavior of consumers; 3) consumers’ satisfaction with the communication factors of fashion sellers via Facebook Live; 4) consumers’ buying decisions and their attitudes regarding buying decisions; 5) the relationships between demographic factors and buying decisions; 6) the relationship between consumers’ Facebook Live fashion products watching behavior and their decisions to buy; 7) the relationship between the communication factors of fashion sellers via Facebook Live and consumers’ buying decisions and their attitudes regarding buying decisions; and 8) the role of family and friends in consumers’ decisions to buy fashion products seen on Facebook Live. This research used mixed methods. For the qualitative part, the key informants were 4 fashion product sellers who had 9,000 or more followers on Facebook Live. The data collection tool was an interview form. Data were analyzed using descriptive analysis. For the quantitative part, a questionnaire was administered to a sample of 418 consumers who watched live streaming of fashion products via Facebook Live. The samples were chosen using multi stage sampling. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, chi square and Pearson’s correlated coefficient The results showed that 1) the fashion sellers used 4 strategies: (a) making the video streams fun so people would want to watch, (b) building credibility of the presenter and the channel, (c) using persuasive communication involving the 4Ps of marketing mix, and (d) providing good after-sales services. 2) Most sample consumers watched the live streams at home on their smart phones 1 or 2 times a week. They normally watched during the time period 20:01 – 23:00 when they had free time. They participated by clicking “like,” following and sharing. They were mainly interested in apparel, followed by handbags. 3) Consumers were highly satisfied with the marketing mix information that they received, with the presenters in the video streams and with the communications technology through Facebook Live. 4) After watching, 32.3 % of consumers decided to buy the products, 61% were undecided and only 6.7% decided not to buy the products. They had a highly positive attitude about their buying decisions. 5) Consumers of different sex and different age groups made different buying decisions. 6) Facebook Live fashion products watching behavior was related to consumers’ decisions to buy. 7) Three communication factors related to Facebook Live broadcasting, consisting of (a) satisfaction with 4Ps marketing mix information, (b) satisfaction with the presenters, and (c) satisfaction with the Facebook Live technology, were all related to consumers’ decisions to buy and their attitudes toward their decisions to buy. 8) The role of family and friends was not related to consumers’ decisions to buy fashion products seen on Facebook Liveen_US
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib159368.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.06 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons