Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1614
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์ | th_TH |
dc.contributor.author | นิยม ไกรปุย, 2512- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-09-20T04:07:18Z | - |
dc.date.available | 2022-09-20T04:07:18Z | - |
dc.date.issued | 2560 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1614 | en_US |
dc.description | ดุษฏีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชุมชนสุขภาวะภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้รับรางวัลในการลด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กับชุมชนที่ไมได้รับรางวัลด้าน 1) การจัดการการสื่อสาร 2) การบริหารจัดการชุมชนขับเคลื่อน การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม และ 3) รูปแบบการจัดการการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจาก 2 ตําบลๆ ละ 16 คน รวม 32 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากกลุ่มผู้นําชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และแกนนําภาคประชาสังคม ในตําบลสมุดที่ได้รับรางวัล และตําบลทุ่งมนที่ไม่ได้รับรางวัล อําเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับฉลาก ตําบลชุมชนสุขภาวะที่ได้รับรางวัล 8 แห่ง และชุมชนที่ไม่ได้รับรางวัล 8 แห่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มผู้นําชุมชนแห่งละ 15 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง 240 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีในการเปรียบเทียบของชุมชนสุขภาวะที่ได้รับรางวัลกับชุมชนที่ไม่ได้รับรางวัล และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการการสื่อสารในการลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของชุมชนสุขภาวะได้รับ รางวัล ประกอบด้วย การสร้างความรู้ที่เป็นธรรมนูญชุมชน การตั้งเป้าหมายการสื่อสารไปยัง ผู้ขาย ผู้ดื่ม และผู้ใช้เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในการจัดกิจกรรม มีวัตถุประสงค์สื่อสารเพื่อลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน แล้วมาวางแนวทางการ สื่อสารและการวางแผนการสื่อสารให้ปฏิบัติตามธรรมนูญชุมชน สู่การดําเนินการสื่อสารอย่างต่อเนื่องสมํ่าเสมอ และการประเมินผลการสื่อสารของคนในชุมชนว่าสํานึกร่วมกันสื่อสารลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แตกต่างจากชุมชนที่ไม่ได้รับรางวัลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 2) บริหารจัดการชุมชนขับเคลื่อนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ การบริหารคนในชุมชนสร้างทีมแกนนําการสื่อสารที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริหารเงินในการรณรงค์ที่โปร่งใสไม่มีความขัดแย้ง การบริหารวัสดุอุปกรณ์ใช้ในการสื่อสาร การจัดการแบบมีส่วนร่วมในการสื่อสารโดยสร้างกลุ่มแกนนํา ร่วมสํารวจปัญหา วิเคราะห์และคืนข้อมูลแก่ชุมชน สู่การสร้างธรรมนูญชุมชน แล้วติดตามประเมินการดําเนินงานสื่อสารลดการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในชุมชน ทําให้คนในชุมชนเกิดแรงจูงใจรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกันในการสื่อสาร สํานึกดีต่อชุมชนโดยให้ความร่วมมือขายตามกฎหมายกำหนด ไม่ดื่ม ไม่ใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้จัดการการสื่อสารและแกนนําภาค ประชาสังคมต้องคลุกคลีอย่างใกล้ชิดตลอดเวลากับคนในชุมชน จึงนําไปสู่ความสําเร็จ 3) รูปแบบการจัดการการสื่อสารแบบ มีส่วนร่วมในการลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มีความแตกต่างจากชุมชนที่ไม่ได้รับรางวัลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ที่มีการสื่อสารเป็นบางช่วงและไม่สมํ่าเสมอ | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | การสื่อสาร--การจัดการ | th_TH |
dc.subject | เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ | th_TH |
dc.title | การจัดการการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของชุมชนสุขภาวะ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | th_TH |
dc.title.alternative | Management of participatory communication of reduce alcohol consumption in the well-being community of North-Eastern Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์) | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชานิเทศศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to compare the “well-being communities” in Northeastern Thailand that had won an award for reducing alcohol consumption with communities that had not won an award in terms of: 1) communication management; 2) community management to drive participatory communication; and 3) forms of managing participatory communication. This was a mixed methods research. For the qualitative part 16 key informants in each of 2 sub-districts (total of 32 samples) were interviewed, comprising community leaders, public health officials, local administrative organization officials, and leaders of civil society. The key informants were chosen by purposive sampling from Samut Sub-district (a well-being community that won an award for reducing alcohol consumption) and Thung Mon Sub-district (a community that did not win an award), both located in Prasat District, Surin Province. The data collection tool was an in-depth interview form. Data were analyzed through descriptive analysis. For the quantitative analysis, 8 well-being communities in the Northeast that had won awards for reducing alcohol consumption and 8 communities that had not won awards were chosen by simple random sampling, then 15 community leaders were randomly chosen from each community, for a total sample size of 240. Data were statistically analyzed by frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, t test to compare the 2 types of communities, and oneway analysis of variance. The results showed that 1) communications management by the communities that won awards for reducing alcohol consumption consisted of building knowledge of the community health charter, setting communication goals for alcohol sellers and drinkers about communication activities with the objective of reducing alcohol consumption in the community, followed by setting approaches for consistent, ongoing communications and communication planning to follow and implement the community charter. Lastly, the communications were evaluated to see if people in the community were conscious of the message to reduce alcohol consumption. These aspects of communication management were different from in the communities that did not win awards to a statistically significant degree at 0.05 confidence level. 2) Community management to drive participatory communication consisted of building teams of core communication leaders who were non-drinkers, managing campaign funds transparently with no conflicts, managing communications equipment, participatory communications management by building groups of leaders, jointly assessing problems, analyzing information and giving feedback to the community to develop the community charter. This was followed up by evaluating operations and alcohol consumption reduction results to give community members incentive and a feeling of joint ownership in the communications, so they would want to be conscientious and cooperate by quitting drinking, selling alcohol only as allowed by law, and abstaining from serving alcoholic beverages at community functions. The communications managers and civil society leaders had to interact with and stay close to the members of the community all the time in order to make this a success. 3) As for forms of managing participatory communication to reduce alcohol consumption that differed to a statistically significant degree at 0.05 confidence level between communities that had won awards for reducing alcohol consumption and communities that had not won awards, the main difference was that communities that had not won awards tended to have sporadic communication that was not at regular intervals | en_US |
dc.contributor.coadvisor | นิตยา เพ็ญศิรินภา | th_TH |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib162522.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License