Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1614
Title: | การจัดการการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของชุมชนสุขภาวะ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
Other Titles: | Management of participatory communication of reduce alcohol consumption in the well-being community of North-Eastern Thailand |
Authors: | ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์ นิยม ไกรปุย, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นิตยา เพ็ญศิรินภา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การสื่อสาร--การจัดการ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชุมชนสุขภาวะภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้รับรางวัลในการลด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กับชุมชนที่ไมได้รับรางวัลด้าน 1) การจัดการการสื่อสาร 2) การบริหารจัดการชุมชนขับเคลื่อน การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม และ 3) รูปแบบการจัดการการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจาก 2 ตําบลๆ ละ 16 คน รวม 32 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากกลุ่มผู้นําชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และแกนนําภาคประชาสังคม ในตําบลสมุดที่ได้รับรางวัล และตําบลทุ่งมนที่ไม่ได้รับรางวัล อําเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับฉลาก ตําบลชุมชนสุขภาวะที่ได้รับรางวัล 8 แห่ง และชุมชนที่ไม่ได้รับรางวัล 8 แห่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มผู้นําชุมชนแห่งละ 15 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง 240 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีในการเปรียบเทียบของชุมชนสุขภาวะที่ได้รับรางวัลกับชุมชนที่ไม่ได้รับรางวัล และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการการสื่อสารในการลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของชุมชนสุขภาวะได้รับ รางวัล ประกอบด้วย การสร้างความรู้ที่เป็นธรรมนูญชุมชน การตั้งเป้าหมายการสื่อสารไปยัง ผู้ขาย ผู้ดื่ม และผู้ใช้เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในการจัดกิจกรรม มีวัตถุประสงค์สื่อสารเพื่อลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน แล้วมาวางแนวทางการ สื่อสารและการวางแผนการสื่อสารให้ปฏิบัติตามธรรมนูญชุมชน สู่การดําเนินการสื่อสารอย่างต่อเนื่องสมํ่าเสมอ และการประเมินผลการสื่อสารของคนในชุมชนว่าสํานึกร่วมกันสื่อสารลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แตกต่างจากชุมชนที่ไม่ได้รับรางวัลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 2) บริหารจัดการชุมชนขับเคลื่อนการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ การบริหารคนในชุมชนสร้างทีมแกนนําการสื่อสารที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริหารเงินในการรณรงค์ที่โปร่งใสไม่มีความขัดแย้ง การบริหารวัสดุอุปกรณ์ใช้ในการสื่อสาร การจัดการแบบมีส่วนร่วมในการสื่อสารโดยสร้างกลุ่มแกนนํา ร่วมสํารวจปัญหา วิเคราะห์และคืนข้อมูลแก่ชุมชน สู่การสร้างธรรมนูญชุมชน แล้วติดตามประเมินการดําเนินงานสื่อสารลดการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในชุมชน ทําให้คนในชุมชนเกิดแรงจูงใจรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกันในการสื่อสาร สํานึกดีต่อชุมชนโดยให้ความร่วมมือขายตามกฎหมายกำหนด ไม่ดื่ม ไม่ใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้จัดการการสื่อสารและแกนนําภาค ประชาสังคมต้องคลุกคลีอย่างใกล้ชิดตลอดเวลากับคนในชุมชน จึงนําไปสู่ความสําเร็จ 3) รูปแบบการจัดการการสื่อสารแบบ มีส่วนร่วมในการลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่มีความแตกต่างจากชุมชนที่ไม่ได้รับรางวัลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ที่มีการสื่อสารเป็นบางช่วงและไม่สมํ่าเสมอ |
Description: | ดุษฏีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1614 |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib162522.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License