กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1618
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการจัดการสื่อสารสุขภาพแบบมีส่วนร่วมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Management patterns of participatory health communicable about non-communication diseases |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุภาภรณ์ ศรีดี โชคชัย ลีโทชวลิต วีรศักดิ์ นาชัยดี, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สันทัด ทองรินทร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การสื่อสารทางการแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ด้านสื่อสารสุขภาพในพื้นที่ศึกษา 2) ศึกษาวิธีการสื่อสารสุขภาพในชุมชนที่ประสบความสำเร็จด้านการสื่อสารสุขภาพแบบมีส่วนร่วมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และ 3) นำเสนอแนวทางและรูปแบบการจัดการสื่อสารสุขภาพแบบมีส่วนร่วมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลแคราย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 8 คน และผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลแสนชาติ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 10 คน ร่วมกับการใช้การสนทนากลุ่ม จากผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลแคราย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 11 คน และผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลแสนชาติ อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า 1) สถานการณ์การด้านสื่อสารสุขภาพในพื้นที่ศึกษา ศึกษาในพื้นที่ชุมชนตำบล แคราย อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ นโยบายสาธารณสุข แผนสุขภาพ ชุมชน และการดำเนินงานสุขภาพชุมชน ด้านนโยบายสาธารณสุขจะถูกกำหนดมาจากกระทรวงสาธารณสุข และ องค์กรบริหารจัดการด้านสุขภาพระดับพื้นที่เป็นผู้จัดทำแผนสุขภาพชุมชนเอง เพราะเป็นชุมชนเมืองคนในชุมชน ต้องประกอบอาชีพ ไม่มีเวลาร่วมประชาคมเพื่อทำแผนสุขภาพ ทำให้คนในชุมชนมองไม่เห็นเป้าหมายร่วมกันในการขับเคลื่อนในการการดำเนินงานสุขภาพชุมชน 2) วิธีการสื่อสารสุขภาพในชุมชนที่ประสบความสำเร็จด้าน การสื่อสารสุขภาพแบบมีส่วนร่วมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ศึกษาในพื้นที่ชุมชนตำบลแสนชาติ อำเภอจังหาร จังหวัด ร้อยเอ็ด ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ นโยบายสาธารณสุข แผนสุขภาพชุมชน และการดำเนินงานสุขภาพชุมชน โดยนโยบายสาธารณสุขถูกกำหนดจากกระทรวงสาธารณสุขลงมา ให้องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลและคนในชุมชนเป็นผู้จัดทำแผนสุขภาพชุมชนโดยใช้วิธีจัดเวทีประชาคม เมื่อได้แผน สุขภาพชุมชนผ่านการประชาคมจากชุมชนแล้ว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขตำบล และคนในชุมชนช่วยกันดำเนินงานสุขภาพชุมชน โดยการจัดโครงการส่งเสริมสุขภาพในชุมชน 3) แนวทางและรูปแบบการจัดการสื่อสารสุขภาพแบบมีส่วนร่วมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การใช้นโยบายสาธารณสุข และแผนสุขภาพ ชุมชนเป็นแนวทางในการดำเนินงาน โดยมีรูปแบบคือการจัดโครงการกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในชุมชน โดยมีปัจจัยประสบความสำเร็จประกอบไปด้วย ธรรมนูญสุขภาพ งบประมาณสนับสนุน เครือข่ายชุมชน แผนระยะยาว 5 ปี (ตำบลจัดการสุขภาพดีวิถีชีวิตไทย) การจัดการความรู้ และการประเมินโครงการกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพใน ชุมชนโดยคณะกรรมการภายในและภายนอก |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1618 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Comm-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib162523.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.73 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License