Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1628
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอิศเรศ ศันสนีย์วิทยกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorจีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorฐิติพงศ์ ศาสตร์แก้ว, 2509--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-09-26T06:57:12Z-
dc.date.available2022-09-26T06:57:12Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1628-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดการป่าชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน (3) เสนอแนะแนวทางในการนำหลักการมีส่วนร่วมไปใช้ในการจัดการป่าชุมชนเพื่อให้เกิดผลสำเร็จมากยิ่งขึ้นในอนาคต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือคณะกรรมการป่าชุมชนในท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 4,250 คน ผู้วิจัยสุ่มตัวอย่าง ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ตามสูตรการคำนวณ ของทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวนตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัย 366 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน ในแต่ละชั้นภูมิจะใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง โดยเลือกเฉพาะชาวบ้านที่มีตำแหน่งเป็นคณะกรรมการป่า ชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาร่วมกับวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยและการจำแนกชนิดข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผลการวิจัยพบว่า (1) ความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน ในจังหวัดอุบลราชธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และในแต่ละด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชน ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้นำชุมชน ปัจจัยด้านการได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ซึ่งเป็นปัจจัยเชิงบวก ส่วนปัจจัยเชิงลบได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่ม และปัจจัยส่วนบุคคล ด้านการมีตำแหน่งในกลุ่ม (3) ข้อเสนอ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จมากยิ่งขึ้นในอนาคต ได้แก่ ควรให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม ในด้านร่วมคิด เพราะเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จมากที่สุด ควรพิจารณาเลือกผู้นำที่มีความเข้มแข็ง มีความรู้ ความสามารถ เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน ควรให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ อย่างเพียงพอแก่ชุมชน ควรมีมาตรการจูงใจให้ชาวบ้านหันมาช่วยกันรักษาป่า ควรจัดให้มีกฎหมายป่าชุมชน ควรพัฒนาความร่วมมือในรูปเครือข่ายป่าชุมชนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectป่าชุมชน -- ไทย -- การมีส่วนร่วมของประชาชนth_TH
dc.subjectป่าชุมชน -- ไทย -- อุบลราชธานีth_TH
dc.titleความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานีth_TH
dc.title.alternativeThe accomplishment of participation of citizens in community forest management in Ubon Ratchathani Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจ)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to (1) study level of accomplishment of participation of citizens in community forest management in Ubon Ratchathani Province (2) study factors influencing the accomplishment of participation of citizens in community forest management (3) recommend guidelines of the participation of citizens in community forest management to the better accomplishment in the future. This research was a survey research. Population was 4,250 committees of community forest in Ubon Ratchathani Province. The researcher used sampling technique with confidence level of 95 percent based on the formula of Taro Yamane and obtained size of 366 samples. Sampling method was proportional stratified sampling and use purposive sampling method by choosing only people who were holding a position of committee of community forest. Research instrument was a questionnaire. Quantitative analysis was descriptive statistics such as frequency, mean, percentage, stand deviation and inferential statistics such as t – test, stepwise multiple regression. While qualitative analysis employed content analysis together with the inductive analysis and the typological analysis. The results revealed that (1) an overall image and single aspect of level of accomplishment of participation of citizens in community forest management in Ubon Ratchathani Province was both at high level (2) factors influencing the accomplishment of participation of citizens in community forest management included community leaders, the support from government authorities and the motivation. The mentioned factors were positive factors. Negative factors included personal factors in term of duration of being membership and the position in the committee (3) recommendations for better accomplishment in the future those were there should give priority to participation in thinking which would be the most affected factor, choose a good leader who had good knowledge and was recognized by the community, support budget to the community adequately, provide measures to motivate the citizens to preserve forests, promote the community forest Law and collaborate as community forest networken_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib160957.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.91 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons