กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1636
ชื่อเรื่อง: แนวพระราชดำริสิทธิสตรีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The women's rights initiative in King Mongkut
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุทธพร อิสรชัย
ปทุมทิพย์ สีริด, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วรวลัญช์ โรจนพล
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
สิทธิสตรี -- ไทย
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สาเหตุของการกำเนิดแนวพระราชดำริสิทธิสตรี ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (2) ปัจจัยและกระบวนการที่มีผลต่อแนวพระราชดำริสิทธิสตรีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (3) ผลกระทบจากแนวพระราชดำริสิทธิสตรี ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์โดยดำเนินการ 2 ส่วน ได้แก่ การศึกษาและวิเคราะห์จากเอกสารประวัติศาสตร์รวมตลอดถึงผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์วิเคราะห์แบบเจาะลึกกลุ่มตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ จำนวน 4 ท่าน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้างจากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ความเป็นปัจเจกบุคคลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และการเกิดลัทธิการล่าอาณานิคม เป็นสาเหตุให้พระองค์ปรับปรุงประเทศเพื่อความทันสมัยในหลายด้าน รวมทั้งในเรื่องของการมอบสิทธิเสรี ภาพและสิทธิสตรี แก่ประชาชนของพระองค์ (2) สถาบันพระมหากษัตริ ย์มีอำนาจสูงสุดและอิทธิพลแนวคิดในเรื่องสิทธิเสรี ภาพและสิทธิสตรี ของ ชาติตะวันตกที่มีต่อสังคมไทย เป็นปัจจัยทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปิดโอกาส ให้สตรีในราชสำนักมีโอกาสเรียนรู้ภาษาอังกฤษ พระองค์ทรงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิสตรีจำนวนหลายฉบับ เช่น การให้สิทธิในการยื่นฎีกาและได้รับชำระความโดยเร็ว สิทธิการเรียนภาษาอังกฤษ แก่สตรี ในราชสำนัก สิทธิในการเลือกคู่ครองของสตรี สามัญชน สิทธิไม่ต้องถูกขายลงเป็นทาส โดยไม่สมัครใจ สิทธิในการเรียกร้องมรดกและสินสมรส สิทธิข้าราชการฝายในทูลลาออกเป็นต้น (3) แนวพระราชดำริสิทธิสตรีได้ส่งผลให้สตรีมีสิทธิตัดสินใจในการเลือกดำเนินชีวิตตนมากขึ้น แม้ยัง ไม่ถึงขั้นเท่าเทียมกับเพศชายเพราะสังคมไทยยังอยู่ในระบบไพร่และทาส แต่นับเป็นการวางรากฐาน สิทธิสตรีที่สำคัญ และถือเป็นจุดริเริ่มของการพัฒนาสิทธิสตรีในประเทศไทยในสมัยรัชกาลต่อมา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม (การเมืองการปกครอง)) - - มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1636
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib165016.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons