กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1667
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการผลิตอ้อยโรงงานของเกษตรกรในอำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines for sugarcane production of farmers in Thong Saen Khan District of Uttaradit Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุฬาวรรณ สิงห์ไชย, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
อ้อย--การผลิต--ไทย--อุตรดิตถ์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรผู้ปลูกอ้อยโรงงาน (2) สภาพการผลิตอ้อยโรงงานของเกษตรกร (3) สภาพและความต้องการการส่งเสริมการผลิตอ้อยโรงงานของเกษตรกร (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตอ้อยโรงงานของเกษตรกร (5) แนวทางการส่งเสริมการผลิตอ้อยโรงงานของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรสองในสามเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51.07 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.89 คน แรงงานในการปลูกอ้อยโรงงานเฉลี่ย 1.90 คน ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มหรือสถาบันเกษตรกร โดยส่วนใหญ่เป็นสมาชิกสมาคมชาวไร่อ้อย และลูกค้า ธ.ก.ส มีประสบการณ์ในการปลูกอ้อยโรงงาน เฉลี่ย 7.22 ปี มีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 24.69 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 12.01 ตันต่อไร่ รายได้จากการขายอ้อยโรงงานเฉลี่ย 11,753.72บาทต่อไร่ และต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 9,724.22 บาทต่อไร่ แหล่งเงินทุนส่วนใหญ่กู้ยืมจากโรงงานและใช้ทุนตนเอง (2) การปลูกอ้อยโรงงาน พบว่า เกษตรกรกว่าครึ่งปฏิบัติตามคำแนะนำทางวิชาการ ในระดับมากที่สุด และเกือบหนึ่งในสามปฏิบัติในระดับมาก (3) เกษตรกรเกือบทั้งหมด ได้รับการส่งเสริมการผลิตอ้อยโรงงานจากโรงงานนํ้าตาล ส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนด้านแหล่งเงินทุน ในภาพรวมเกษตรกรได้รับการส่งเสริมการผลิตอ้อยโรงงานจากสื่อบุคคล สื่อกลุ่ม และสื่อมวลชนในระดับปานกลาง เกษตรกรเกือบทั้งหมดต้องการการส่งเสริมการผลิตจากโรงงานนํ้าตาล ต้องการการสนับสนุนด้านแหล่งเงินทุนและด้านเครื่องจักรกล ในภาพรวมเกษตรกรต้องการการส่งเสริมผ่านสื่อบุคคลในระดับมาก (4) ในภาพรวมเกษตรกรมีปัญหาในการส่งเสริมการผลิตอ้อยโรงงาน ด้านแหล่งเงินทุน และด้านเครื่องจักรกลในระดับมาก และในภาพรวมเกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะในระดับมากทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการได้รับคำแนะนำหรือการเข้าไปให้คำปรึกษาของเจ้าหน้าที่ ด้านแหล่งเงินทุน ด้านการได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้จากสื่อต่างๆ ด้านเครื่องจักรกล (5) ในภาพรวมเกษตรกรเห็นด้วยกับแนวทางการส่งเสริมการผลิตอ้อยโรงงานในระดับมากในทุกประเด็น ได้แก่ ประเด็นเนื้อหาความรู้การผลิตอ้อยโรงงานของเกษตรกร การผลิตอ้อยโรงงาน และการให้บริการและการสนับสนุนปัจจัยการผลิต
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1667
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159174.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons