Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1668
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorจรรยา สิงห์คำ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorธนนันท์ สนสาขา, 2529--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-10-07T07:10:01Z-
dc.date.available2022-10-07T07:10:01Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1668-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))— มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจในการผลิตมะพร้าวตามระบบเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร 3) ความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกรในการผลิตมะพร้าวตามระบบเกษตรอินทรีย์ และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการส่งเสริมการผลิตมะพร้าวตามระบบเกษตรอินทรีย์ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 52.46 ปี จบชั้นประถมศึกษา มีประสบการณ์การผลิตมะพร้าวทั่วไปเฉลี่ย 27.99 ปี และประสบการณ์การผลิตมะพร้าวอินทรีย์เฉลี่ย 5.39 ปี พื้นที่ผลิตมะพร้าวทั่วไปเฉลี่ย 31.48 ไร่ แรงงานในครัวเรือน เฉลี่ย 2.15 คน แรงงานรับจ้างเฉลี่ย 3.75 คน ต้นทุนการผลิตมะพร้าวทั่วไปเฉลี่ย จำนวน 5,987.71 บาทต่อไร่ รายได้จากการขายมะพร้าวทั่วไป เฉลี่ย 254,780.65 บาทต่อปี มีหนี้สินเฉลี่ย 374,313.73 บาทต่อครอบครัว มีการติดต่อสื่อสารกับเกษตรกรรายอื่นเฉลี่ย 2.96 ครั้งต่อเดือน มีการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรโดยเฉลี่ย 1 เดือน 1.09 ครั้ง ได้รับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตพืชอินทรีย์ 1.90 ครั้งต่อเดือน ได้ประสบการณ์การฝึกอบรมเกษตรอินทรีย์โดยเฉลี่ยใน 1 ปี 1.64 ครั้ง (2) แรงจูงใจในการผลิตมะพร้าวตามระบบเกษตรอินทรีย์ โดยรวมอยู่ระดับค่อนข้างสูง โดยแรงจูงใจด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับสูง (3) ความต้องการการส่งเสริมของเกษตรกรในการผลิตมะพร้าวตามระบบเกษตรอินทรีย์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยความต้องการความรู้ในการแนะนำส่งเสริมเนื้อหาความรู้ ด้านการตลาด ด้านผู้ส่งเสริม อยู่ระดับมากที่สุด (4) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการผลิตมะพร้าวอินทรีย์ในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง เกษตรกรมีปัญหาในการผลิตมะพร้าวตามระบบเกษตรอินทรีย์อยู่ระดับมาก 3 ประเด็น ได้แก่ ไม่ทราบขั้นตอนการปฏิบัติตามหลักและวิธีการเกษตรอินทรีย์ พ่อค้ากดราคา แมลงระบาดสูง เกษตรกรมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการส่งเสริมให้ความรู้เรื่องข้อกำหนดเกษตรอินทรีย์เพื่อเกษตรกรปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง จัดให้มีตลาดรับซื้อผลผลิตมะพร้าวตามระบบเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ มีมาตรการป้องกันพ่อค้ากดราคา ถ่ายทอดความรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อการทำเกษตรอินทรีย์ในทุกด้านอย่างต่อเนื่องth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมะพร้าว--การผลิตth_TH
dc.subjectการส่งเสริมการเกษตร--ไทย--ประจวบคีรีขันth_TH
dc.titleการส่งเสริมการผลิตมะพร้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์th_TH
dc.title.alternativeExtension of organic coconut production by farmers in Prachuap Khiri Khan Provinceen_US
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
159176.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.31 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons